ความดันโลหิต เป็นตัวชี้วัดความปกติของสุขภาพในเบื้องต้นได้ ถ้าเราความดันต่ำหรือสูงเกินไป ก็อาจเกิดอาการหน้ามืดวิงเวียน หรือหากความดันผิดปกติบ่อย ๆ นาน ๆ อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าเรากำลังมีโรคภัยซ่อนเร้นอยู่ ดังนั้นเราควรวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในสมัยก่อนการจะวัดความดันอาจต้องไปถึงโรงพยาบาลหรือตามคลินิค โชคดีที่ปัจจุบันนี้มี เครื่องวัดความดัน แบบต่างๆ ให้เราหาซื้อมาติดบ้านได้แล้ว และในบทความนี้ เราได้คัดมาให้คุณแล้วว่า เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี
บรรณาธิการ
Table of Contents
10 เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ใช้ง่าย ให้ค่าแม่นยำ 2025
omron เครื่องวัดความดัน รุ่นนี้ถือว่าน่าสนใจมากสำหรับสายสปอร์ต เพราะเป็น เครื่องวัดความดัน ข้อมือ ที่ดีไซน์สวยเท่ด้วยสีดำเรียบหรู มาในขนาดเล็ก พกพาสะดวก แต่มีออปชั่นจัดเต็ม อาทิ สัญลักษณ์แสดงการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ, สัญลักษณ์แสดงการเคลื่อนไหวขณะวัดความดัน แม้คนไม่เคยใช้ก็ใช้ได้อย่างง่ายดาย เพราะมีสัญลักษณ์แสดงเมื่อพันผ้าถูกต้อง โดยแผ่นรัดข้อมือเป็นแบบปรับได้ แถมยังมีหน่วยความจำที่บันทึกได้ถึง 2 ผู้ใช้ จำนวน 200 ครั้ง และสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 300 ครั้ง โดยใช้ถ่าน AAA เพียง 2 ก้อนเท่านั้น เหมาะกับคนที่ชอบเดินทางมาก ๆ
ขนาดข้อมือ: 13.5-21.5 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : สินค้าดีมากๆ ครับ ใช้งานง่าย เชื่อมต่อแอปก็ง่าย
เริ่มที่สินค้าชิ้นแรกของบทความ เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี มีเครื่องนี้เครื่องเดียวก็เรียกได้ว่าคุ้ม เพราะเครื่องวัดความดัน Omron รุ่นนี้ใช้ง่ายสุด ๆ แถมใช้ได้ถึง 2 คน มาพร้อมฟังชั่นที่หลากหลาย นอกจากจะเป็น ที่วัดความดัน ที่มีความแม่นยำแล้ว ยังสามารถตรวจวัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วได้ด้วย ผู้ใช้สามารถตรวจหาความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ มากับผ้าพันแขน IntelliWrap ที่สวมใส่ง่าย วัดได้รอบทิศทาง และยังมี Intellisense ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะแบรนด์ออมรอน ช่วยลดการบีบรัดแขนให้น้อยลง จึงไม่ทำให้แขนเจ็บ รู้สึกสบายมากขึ้น และยังเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้ด้วย
ขนาดผ้าพันแขน: 22-42 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ: สินค้าใช้งานได้ดีมากค่ะ ใช้ง่าย มีความน่าเชื่อถือ ชอบที่สุดสามารถ sync ข้อมูลเข้าแอปมือถือได้ ซื้อเพราะรุ่นนี้สามารถตรวจจับการเต้นผิดปกติของหัวใจได้ เยี่ยมเลยค่ะ ส่งเร็วมากด้วยค่ะ
มาต่อกันที่เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ชิ้นที่ 3 แล้ว แต่แบรนด์นี้ยังคงเหนียวแน่น เครื่องวัดความดัน Omron รุ่นนี้ต้องถูกใจสาย Gadget แน่นอน เพราะมาในดีไซน์สีดำ สวยเรียบเท่ เป็นแบบไร้ท่อไร้สาย น้ำหนักเบา พกพาสะดวก เวลาใช้ก็สวมแขนได้เลย สั่งงานโดยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียว ด้านคุณสมบัติก็ถือว่าล้ำหน้า เพราะเป็นเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น มีสัญลักษณ์แสดงหากหัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีความดันโลหิตที่เกินมาตรฐาน มีสัญลักษณ์แสดงหากขยับในขณะวัด เชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพกับสมาร์ทโฟนผ่านบลูทูธ บันทึกความจำได้ 30 ครั้ง เครื่องทำงานโดยใช้ถ่าน AAA จำนวน 4 ก้อน
ขนาดผ้าพันแขนที่ใช้ได้: 22-42 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : ยี่ห้อนี้เชื่อถือได้อยู่แล้ว เป็นรุ่นที่ใช้งานสะดวกต่อมือถือเพื่อเก็บข้อมูผ่านแอพได้ หรือจะเก็บไว้ในตัวเครื่องเองก็ได้ ระบบการวัดไม่เป่าลมแน่นมาก ใช้แล้วไม่ปวดแขนครับ
ใครมองหา เครื่องวัดความดันโลหิต ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้เองได้สะดวก ขอแนะนำ เครื่องวัดความดัน Yuwell YE660E เพราะเป็นเครื่องที่ขนาดกำลังดี น้ำหนักเบาพอสมควร มีหน้าจอแสดงผลแบบ LCD ที่ใหญ่ อ่านค่าได้ชัดเจน สามารถบอกค่าความดันเป็นเสียงพูดภาษาไทย ซึ่งสามารถปรับระดับเสียงได้ ตัวเครื่องเป็นระบบ Oscillation ประมวลผลด้วยระบบดิจิทัล บันทึกค่าความดันได้ 99 ครั้ง ผ้าพันแขนเป็นดีไซน์พิเศษที่ออกแบบให้เป็นแกนโค้ง รับกับต้นแขน จึงสามารถวัดได้ง่าย มี 2 ขนาด ใช้กับขนาดรอบแขน 22-45 เซนติเมตรและ 18-36 เซนติเมตร
ขนาดผ้าพันแขน: Normal = 18-36 ซม. | L = 22-45 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : สินค้าเครื่องเล็กกะทัดรัดดี ใช้งานง่ายไม่ยาก มีเมนูภาษาไทยด้วย ราคาไม่แพงมาก โดยรวมดีนะ
เครื่องวัดความดัน แขนใหญ่ เพราะผ้าที่ให้มามีขนาดรอบแขนถึง 22-45 เซนติเมตร บันทึกค่าการวัดแบบอัตโนมัติ ทั้งความดันและชีพจร โดยมีค่าความแม่นยำบอกมาด้วย สำหรับค่าความดัน +3 มม.ปรอท และอัตราการเต้นของชีพจร +5% ของค่าที่อ่านได้ และสามารถบันทึกค่าการวัดได้ 60 ค่า สามารถเรียกดูค่าเฉลี่ยการวัด 3 ครั้งหลังสุด และค่าย้อนหลัง ความดัน ,อัตราการเต้นชีพจร, วัน เวลา ในการวัดแต่ละครั้งได้ แม้แต่คนแก่ก็ยังใช้เครื่องวัดความดัน Yuwell YE 670D ได้สะดวก เพราะมีเสียงพูดภาษาไทยที่แจ้งค่าที่วัดได้, ค่าที่บันทึก และความผิดพลาด
ขนาดผ้าพันแขน: 22-45 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : อุปกรณ์ใช้งานได้ปกติ เสียงพูดและตัวเลขหน้าจอชัดเจน ใช้ดีค่ะ
เครื่องวัดความดัน AllWell รุ่นนี้เหมาะมากสำหรับคนที่ขี้ลืม เพราะมาพร้อมฟังก์ชันตั้งปลุก เพื่อเตือนว่าถึงเวลาวัดความดัน ใช้ง่านง่ายเพียงกดแค่ปุ่มเดียว แถมหน้าจอยังสามารถเปลี่ยนสีได้ตามค่าความดันที่วัดได้ หากความดันปกติหน้าจอจะเป็นสีเขียว (SYS < 140 / DIA < 90 mmHg) ถ้าความดันค่อนข้างสูงหน้าจอจะมีสีเหลือง (SYS 140-179 / DIA 90-109 mmHg) และหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีแดงถ้าคุณความดันสูง (SYS ≥ 180 / DIA ≥ 110 mmHg) และยังอ่านค่าเป็นเสียงภาษาไทยได้ด้วย โดยเป็นที่วัดความดันที่ใช้ได้ 2 คน บันทึกค่าได้คนละ 99 ครั้ง
ขนาดผ้าพันแขน: 22-32 เซนติเมตร
รีวิว : ซื้อครั้งที่ 3 ละค่ะ ใช้งานง่าย สะดวก ใช้ได้ทั้งแบบถ่านและแบบชาร์จ
เครื่องวัดความดัน Beurer เป็นเครื่องวัดความดัน ดิจิตอล ที่ใช้วัดตรงต้นแขน ใช้ง่าย รวดเร็ว สามารถวัดความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง มีสัญลักษณ์แจ้งเตือนหากผู้ใช้พันผ้าพันต้นแขนไม่เหมาะสม และมีสัญลักษณ์แจ้งเตือนหากหัวใจเต้นผิดปกติ สามารถใช้ได้ทั้งครอบครัว ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะผ้าพันต้นแขนมีขนาดรอบแขนตั้งแต่ 22-42 เซนติเมตร สามารถบันทึกความดันของผู้ใช้ได้ถึง 4 คน คนละ 30 ครั้ง พร้อมฟังก์ชั่นปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งาน และตั้งเตือนให้วัดความดันได้วันละ 2 ครั้ง ใช้ได้ทั้งครอบครัว เพราะสามารถบันทึกค่าความดันได้ถึง 4 คน คนละ 30 ครั้ง
ขนาดผ้าพันแขน: 22-42 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : สินค้าดีงาม ตรงปก ครบตามรูปเลยค่ะ ชอบยี่ห้อนี้เพราะเคยซื้อให้บ้านคูณแม่ใช้แล้วรู้สึกทนทานดี
นอกจากจะผลิตเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่ได้คุณภาพแล้ว เรื่องความดันทำออกมาได้เยี่ยมเช่นกัน rossmax เครื่องวัดความดัน ดิจิตอล ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่าย เป็นเครื่องวัดความดันด้วยระบบ Oscillometric แบบ Real Fuzzy Technology มีความแม่นยำสูง แสดงผลเป็นตัวเลขขนาดใหญ่ มีสัญลักษณ์บอกการเคลื่อนไหวขณะวัด หากมีความผิดพลาดขณะวัดจะมีการแจ้งเตือนพร้อมบอกสาเหตุ และมีสัญลักษณ์บอกระดับความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง บันทึกค่าการวัดได้ 90 ค่า โดยข้อมูลที่บันทึก ได้แก่ ค่าความดันโลหิตค่าบน ความดันโลหิตค่าล่าง ชีพจร วันที่และเวลา และครั้งที่ของข้อมูล และสามารถแสดงค่าเฉลี่ยจากการวัด 3 ครั้งสุดท้าย ส่วนผ้าพันแขนเป็นแบบ Cone Cuff จึงเป็น เครื่องวัดความดัน แขนใหญ่ อีกเครื่อง พร้อมมีลูกศรและแถบสีเพื่อบอกว่าพันผ้าเหมาะสมหรือไม่
ขนาดผ้าพันแขน: 24-36 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : ราคาไม่แพงเกินไป เครื่องน้ำหนักเบาดี ใช้งานได้ดีเลยค่ะ
ที่วัดความดัน ตรงต้นแขน มากับหน้าจอแสดงผล LCD ที่ตัวเลขใหญ่ แม้ผู้สูงอายุใช้เองก็อ่านค่าได้ง่าย มีบอกวันที่และเวลาด้วย ใช้สะดวกเพียงกดปุ่มแค่ปุ่มเดียว มีสัญลักษณ์แสดงภาวะความดันโลหิตสูง 3 ระดับ คือระดับปกติ (แถบสีน้ำเงิน), มีความเสี่ยงเป็นภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นเริ่มต้น (แถบสีเหลือง) และระดับที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะความดันโลหิตสูง (แถบสีแดง) พร้อมมีสัญลักษณ์บอกหากพบการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ และมีสัญลักษณ์แสดงเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายขณะวัด บันทึกค่าความจำในตัวเครื่องได้ 90 ครั้ง ตัวเครื่องวัดความดัน Citizen CHU-503 ขนาดกะทัดรัด พกพาได้ง่าย
ขนาดผ้าพันแขน: 32-42 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : สินค้าดีมาก คุ้มค่ามาก
สำหรับใครที่กำลังมองหา เครื่องวัดความดัน ความแม่นยำสูง รุ่นนี้จาก Microlife ถือว่าน่าซื้อไว้ใช้ตอนอยู่ที่บ้านอีกรุ่นค่ะ เครื่องนี้มีเทคโนโลยีเฉพาะ AFIB ของแบรนด์เองว่าให้ความแม่นยำตั้งแต่ 97%-100% เพื่อเอาไว้เตือนว่าคุณต้องไปพบหมอไหม พร้อม 3MAM อีกเทคโนโลยีที่ค่าความแม่นยำสูง วัด 3 ครั้งใน 3 นาที ครั้งที่ 4 จะเป็นแบบอัตโนมัติ หลังจากนั้นถึงจะวิเคราะห์ค่าความดันที่ตรงให้คุณ ซึ่งรุ่นนี้รองรับผู้ใช้ได้ทั้งหมด 2 users นะคะ
ขนาดผ้าพันแขน: 22-42 เซนติเมตร
รีวิวจากผู้ซื้อ : Well packaged. Pretty quick delivery. Everything appears to work so far. Bluetooth connected fairly easy using my iPhone. Integrates well to my Apple Health setup.
เครื่องวัดความดันมีกี่ประเภท
โดยหลักๆ แล้ว เราสามารถแบ่งเครื่องวัดความดันออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- เครื่องวัดความดันชนิดปรอท (Mercury sphygmonometer) ประกอบด้วยแท่งแก้วที่มีสารปรอทอยู่ภายใน วัดค่าได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่เครื่องค่อนข้างใหญ่และหนัก ต้องดูแลรักษาให้ดี อย่าให้แตกหรือรั่ว ไม่อย่างนั้นจะมีการรั่วไหลของปรอท
- เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด (Aneroid equipment) มีกลไกค่อนข้างซับซ้อน มักมาพร้อมกับลูกยางสำหรับบีบลม น้ำหนักเบา พกพาได้ แต่มีข้อเสียที่ใช้ค่อนข้างยาก ผู้ที่จะวัดความดันต้องบีบลม ส่วนการดูแลรักษาจะต้องคอยปรับค่าโดยการเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละครั้ง
- เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล (Automatic equipment) ใช้งานสะดวก มีตัวเลขแสดงผลที่หน้าจอ น้ำหนักเบา พกพาได้ แต่กลไกการทำงานค่อนข้างซับซ้อน หากเสียจะต้องนำไปซ่อมที่ร้าน และจะต้องเลือกซื้อดีๆ ไม่อย่างนั้นจะได้เครื่องที่ค่าไม่แม่นยำ โดยมีทั้งเครื่องวัดความดันแบบแขนสอดและแบบใช้ผ้ารัดต้นแขน
เครื่องวัดความดันแต่ละประเภทเหมาะกับใคร
- เครื่องวัดความดันชนิดปรอท ต้องใช้ควบคู่กับหูฟัง ผู้วัดควรมีทักษะหรือความชำนาญ จึงนิยมใช้ในโรงพยาบาลหรือตามคลินิค
- เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด ใช้คู่กับหูฟังเช่นกัน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ชำนาญหรือมีทักษะ
- เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เหมาะกับการใช้งานในบ้านมากที่สุด เพราะใช้งานง่าย อ่านค่าไม่ยาก
คู่มือการใช้เครื่องวัดความดัน
การใช้เครื่องวัดความดัน มีหลักง่ายๆ ดังนี้
- งดดื่มสุรา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนอย่างน้อย 30 นาทีก่อนทำการวัดความดันโลหิต และไม่ควรวัดภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานอาหารมื้อหลักเสร็จ
- นักพั่งเฉยๆ ก่อนวัดความดันสักประมาณ 5 นาที ก่อนจะวัดความดัน ไม่อย่างนั้นค่าที่ได้อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง
- จัดท่าทางให้พร้อมสำหรับการวัดความดัน จากนั้นวางแขนและข้อศอกบนโต๊ะในระดับเดียวกับหัวใจ พัน Arm Cuff (แผ่นผ้าที่ใช้วัดความดัน) หรือสอดแขนเข้าไปในเครื่องวัดให้อยู่ตรงต้นแขน แล้วกดปุ่มให้เครื่องทำงาน ระหว่างนั้นนั่เฉยๆ หายใวจได้ตามปกติ
- ไม่ควรเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีแผ่นรัดแน่นหรือหลวมเกินไป เพราะอาจทำให้ค่าความดันคลาดเคลื่อน
ค่าบนหน้าจอหมายความว่าอย่างไร
ค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะมี หน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยจะมี 2 ตัวเลข คือ
- เลขที่อยู่ด้านบน คือ ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) เรียกง่าย ๆ ว่า ความดันตัวบน คือ ความดันโลหิตสูงสุดขณะที่หัวใจบีบตัว
- เลขที่อยู่ด้านล่าง คือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure) เรียกง่าย ๆ ว่า ความดันตัวล่าง จะเป็นความดันโลหิตต่ำสุดขณะที่หัวใจคลายตัว
ส่วนตัวที่เขียนว่า Pulse จะเป็นอัตราการเต้นของชีพจร โดยมากจะอยู่ด้านล่างสุดและมีขนาดเล็กกว่าสองตัวเลขด้านบน
ระดับค่าความดันโลหิต
ค่าความดันในระดับปกติ ค่าบนไม่ควรเกิน 120 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) และค่าล่างไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) หากพบว่าหลังการวัดค่าความดันตัวบนสูงเกิน 140 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) และตัวล่างมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ควรทำการพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโดยเร็ว เพราะความดันสูงเป็นเวลานานสามารถเป็น 1 ในสาเหตุในการเกิดโรคร้ายได้ทั้งโรคหัวใจ ไต อัมพฤกษ์ อัมพาต และอื่น ๆ อีกหลายโรค
ที่มาของข้อมูลค่าความดัน: rama.mahidol.co.th
วิธีรักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ
จาก ข้อมูล หากอยากรักษาความดันให้เป็นปกติควรรักษาและทำตามขั้นตอนด้านล่างเลย แต่ปัจจุบันทุกคนควรใช้ชีวิตแบบสมดุลนะคะ แล้วก็อย่าเครียดเกินไปนะทุกคน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- กินอาหารอย่างสมดุล
- ลดเค็ม ลดโรค
- ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา
บทส่งท้าย
เครื่องวัดความดันโลหิต มีหลายแบบหลายเรตราคามาก ๆ ถ้าคุณพบแล้วว่า เครื่องวัดความดันยี่ห้อไหนดี ก็อย่าลืมหาซื้อมาไว้ใช้ในบ้านนะคะ และหากใช้แล้วพบว่าความดันโลหิตหรือการเต้นของหัวใจผิดปกติ ก็อย่านิ่งนอนใจ ให้ตรวจซ้ำเพื่อความมั่นใจ และไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันรักษาโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ