เชื่อว่าเพื่อน ๆ ทุกคนคงเคยเผชิญกับปัญหาการปวดท้องเนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารหลั่งออกมามากเกินไป นำมาซึ่งความไม่สบายตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาวะที่กรดหลั่งออกมาเยอะนำมาซึ่งอาการปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน เป็นต้น ซึ่ง ยาลดกรด ในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ยาลดกรดเป็นอีกหนึ่งตัวยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดไว้ในยามฉุกเฉิน วันนี้เราจะมาแนะนำ ยาแก้กรดไหลย้อน ยี่ห้อไหนดี และการรับประทานยาลดกรดอย่างถูกวิธี รวมถึงข้อควรระวังในการใช้ยาค่ะ
บรรณาธิการ
Table of Contents
10 ยาลดกรด ยี่ห้อไหนดี แก้กรดไหลย้อน เคลือบกระเพาะอาหาร ปี 2024
ยาลดกรด แอนตาซิลเยล เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียมไตรซิลิเกต อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ เป็นส่วนผสมเพื่อลดอาการข้างเคียงจากแมกนีเซียมไตรซิลิเกตที่ทำให้ท้องเสีย และอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ที่ทำให้ท้องผูก ยาลดกรดชนิดนี้จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อย ออกฤทธิ์เฉพาะในบริเวณของทางเดินอาหาร ดังนั้นยาชนิดนี้จึงไม่รบกวนสมดุลกรดด่างของร่างกาย ค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ ข้อควรระวังคือยาลดกรดในกลุ่มนี้ไม่ควรใช้ในกลุ่มของผู้ป่วยโรคไต
วิธีการรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะวันละ 3-4 ครั้งหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการ
ยาลดกรด อีโน เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดผงที่มีส่วนประกอบของโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งถือเป็นยาลดกรดที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่ให้ผลการรักษาที่สั้น ข้อควรระวังคือยาสามารถดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากยาลดกรดแบบนี้สามารถส่งผลต่อเลือด ทำให้เลือดมีความเป็นด่างมากกว่าปกติ จึงไม่เหมาะหากจะใช้เป็นประจำ
วิธีการรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1 ซองผสมน้ำ สามารถทานซ้ำได้ทุก 2-3 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ
มาถึงสินค้าชิ้นที่ 3 ของบทความ ยาแก้กรดไหลย้อน ยี่ห้อไหนดีแล้วค่ะ กาวิสคอน เป็นยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของโซเดียมไบคาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนต และโซเดียมแอลจิเนต ซึ่งมีคุณสมบัติในการสะเทิน หรือลดความเป็นกรด และมีสารที่มีคุณสมบัติสามารถพองตัวเป็นเจล ช่วยลดการที่กรดจะระเหยไปสู่บริเวณของหลอดอาหาร ทำให้ช่วยลดการระคายเคืองได้ หรืออาการกรดไหลย้อนได้ เป็นยาแก้กรดไหลย้อนที่ดีอีกตัวหนึ่ง และคุณสมบัติอีกอย่างของ ยาลดกรด กาวิสคอน คือเป็นยาช่วยย่อยอาหารได้ด้วยเช่นกัน
วิธีการรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 ซอง ซ้ำได้ทุก วันละ 4 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน
ยาลดกรด แบบน้ำ โบวาเจล เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดน้ำที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซียมไตรซิลิเกต อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ และไซเมทิโคนช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และขับลมบรรเทาอาการท้องอืดได้ เป็นยาลดกรดที่ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอกได้เช่นกัน
วิธีการรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะวันละ 3-4 ครั้งหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการ
มาเจสโตเป็นยาลดกรดที่มีส่วนประกอบหลายชนิดช่วยย่อยอาหาร ท้องอืด ปวดท้อง จุกเสียด ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เป็นยาลดกรด แบบเม็ดสามเหลี่ยมลักษณะสามชั้นมีส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร รวมถึงสมุนไพรเช่น ขิง กานพลู ที่ช่วยขับลม แก้จุกเสียด ผลข้างเคียงที่อาจเจอได้คืออาจทำให้มีอาการท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน
วิธีการรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ดวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
พูดิน ฮาร่าเป็นยาช่วยย่อยอาหารในกระเพาะที่มีส่วนประกอบของน้ำมันมิ้นท์ ช่วยขับลม ย่อยอาหาร และบรรเทาอาการท้องอืด ลดแก้สในบริเวณของทางเดินอาหาร เมื่อทานเข้าไปจะรู้สึกเย็นในบริเวณช่องท้อง ผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบยาช่วยย่อยเม็ดเจล ช่วยให้รับประทานง่ายขึ้น ทานได้แบบปลอดภัย
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร
Curcare phytosome เป็นผลิตภัณฑ์ยาลดกรด เคลือบกระเพาะ รักษาแผลในกระเพาะใหม่ของ Mega Wecare โดยเป็นสารสกัดเข้มข้นของขมิ้นชัน โดยมีรูปแบบที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค สามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืด ขับลม จากภาวะกรดหลั่งเกิน
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง
BioGaia Chewable เป็นผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกชนิดเม็ดเคี้ยวรสมะนาวนำเข้าจากประเทศสวีเดน สามารถรับประทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ รับประทานง่าย รสชาติดี ช่วยปรับสมดุลต่อระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการย่อยอาหาร อาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มักนำมารักษาร่วมกับการรักษาหลักในผู้ป่วยที่ประสบปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการอักเสบของบริเวณทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการไม่สบายท้อง กรดเกิน
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง
Air-x เป็นผลิตภัณฑ์ยาสามัญประจำบ้านที่มีตัวยา simethicone ช่วยขับลม ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะกรดเกิน อาหารไม่ย่อย ผลิตภัณฑ์มีหลากหลายรสชาติ ทานง่าย เช่น รสมะนาว รสส้ม รสมิ้นท์ เป็นต้น
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ยาธาตุน้ำแดงวิทยาศรม เป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง จากภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้อาหารไม่ย่อย และเกิดแก๊สในทางเดินอาหารได้ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ยาลดกรดที่สามารถมีติดบ้านไว้ได้
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ยาลดกรด ทำงานอย่างไร
หลักการทำงานของยาลดกรดนั้น จะใช้ความเป็นด่างของยาลดกรด สะเทินกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้ลดอาการกรดไหลย้อน และแสบร้อนกลางอก เข้าเคลือบแผลในกระเพาะ และยาลดกรดแบบน้ำสามารถออกฤทธิ์ได้เร็วกว่ายาลดกรดแบบเม็ด
แต่ยาลดกรดกับยาธาตุน้ำขาวนั้นหน้าตาอาจจะคล้ายคลึงกัน หากอยากรู้ความแตกต่างนั้น ตามเรามาดูคลิปนี้เลย จากช่องของ โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส
ยาลดกรด กินอย่างไร
ยาลดกรดนั้นมีวิธีรับประทานแตกต่างกันออกไป โดยหลัก ๆ สามารถทำได้ดังนี้
- ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์
- ผู้ใหญ่ ขนาด 1 กรัม 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน
- ยาลดกรดที่มีกรดแอลจินิกหรือกาวิสคอน
- ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ขนาด 10-20 มิลลิลิตร รับประทาน 2-4 เม็ด หลังอาหาร และก่อนนอน
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลดกรดประเภทนี้
- ยาแมกนิเซียม ไฮดรอกไซด์
- ผู้ใหญ่ รับประทานไม่เกิน 1 กรัม/วัน ร่วมกับยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์
- ผู้ใหญ่ รับประทานขนาด 2.4-4.8 กรัม/วัน ทานครั้งเดียวหรือจะแบ่งทานภายในวันเดียวก็ได้
- เด็กอายุ 6-11 ปี รับประทานขนาด 1.2-2.4 กรัม/วัน แบ่งทานหรือทานครั้งเดียวได้
- เด็กอายุ 2-5 ปี รับประทาน ขนาด 0.4-1.2 กรัม/วัน แบ่งทานหรือทานครั้งเดียวได้
- รักษาภาวะกรดเกิน
- รักษาอาการท้องผูก
ยาลดกรดห้ามกินกับอะไร
ยาลดกรดไม่ควรกินคู่กับยาปฏิชีวนะ (กลุ่ม fluoroquinolone เช่น ยา norfloxacin, ciprofloxacing) หรือนม เพราะจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลง ดูดซึมได้น้อยลง
ยาลดกรด กินได้บ่อยแค่ไหน
ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ และคนที่มีโรคตับ หรือความดันโลหิตสูง ควรเลือกยาลดกรดโซเดียมต่ำ เพราะยาลดกรดบางประเภทมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่มาก และนอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และอยู่ในความดูแลของแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ลดกรดนี้
ผลข้างเคียงของยาลดกรด
ยาลดกรดแต่ละชนิดทำให้เกิดผลข้างเคียงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของตัวยาในผลิตภัณฑ์ เช่น ทำให้ท้องผูก ท้องเสีย หรือบางชนิดไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคไตเป็นต้น ดังนั้นก่อนเลือกซื้อยาลดกรดควรเลือกให้ตรงกับภาวะของผู้ที่ใช้ เพื่อลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้
บทส่งท้าย
ผลิตภัณฑ์ยาลดกรดในท้องตลาดมีหลากหลายชนิดให้เพื่อนๆ เลือกใช้ในเวลาที่รู้สึกปวดท้อง แต่ทั้งนี้ยาที่กล่าวมาเพื่อนๆ สามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้เองเนื่องจากเป็นยาสามัญประจำบ้าน หากรับประทานยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อแนะนำกลุ่มยาอื่นที่ใช้ในการรักษาความผิดปกติในบริเวณทางเดินอาหาร