ต้องบอกว่าไมค์ลอยเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มักจะถูกใช้ในงานต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็ดูเหมือนจะมีฟังก์ชันที่เอาไว้ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยไมค์ลอยในยุคหลังเริ่มมีการเชื่อมต่อที่ง่ายกว่าเดิม รวมถึงมีให้เลือกหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความถี่หรือเอฟเฟกต์ที่ช่วยให้เสียงมีมิติมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีหลากหลายราคาให้เลือกตามความต้องการ แล้วในบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักไมค์ลอยทั้ง 10 ตัวกัน
บรรณาธิการ
Table of Contents
10 ไมค์ลอย เสียงดีใช้งานง่าย ร้องเพลงเพราะ พูดในงานชัด
มากันที่ไมค์ลอยตัวแรกจากแบรนด์ Riworal ที่เปิดตัวรุ่น DX-2 ออกมาพร้อมกับความถี่ 800 MHZ โดยมีจุดเด่นที่การป้องกันเสียงรบกวนได้ดีและยังสลับความถี่ได้ด้วยสวิตช์ที่อยู่ในแกนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคุณภาพเสียงระดับ HD ที่ชัดกว่าเดิมจากตัวชิพรับสัญญาณที่ประมวลผลแบบดิจิทัล รวมถึงยังจับสัญญาณได้ไกลถึง 100 เมตร จนเหมาะกับการใช้ในงานพิธีต่าง ๆ แบบไม่ต้องกังวลอะไรเลยทีเดียว
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ได้ห้าดาว
สำหรับไมค์ลอยอย่าง Riworal EH2 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่มีความน่าสนใจอย่างมาก เพราะว่านี่คือไมค์ลอยแบบ Super Directional ที่ให้เสียงชัดเจนไม่น้อยเลย แถมยังรองรับสาย Jack ทั้งสองแบบคือ 6.35 mm. ที่ใช้งานในเครื่องเล่นต่าง ๆ หรือในรถทัวร์แบบที่หลายคนชอบกัน หรือจะเป็นสายแบบ 3.5 mm. ที่เข้ากับลำโพงต่าง ๆ มากมาย รวมถึงปุ่มในไมโครโฟนยังมีทั้งตัวปรับเสียงและความถี่ได้อีกด้วย
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ทดลองแล้วใช้งานได้ ตัวไมค์จะจับเสียงได้ดีตรงบริเวณด้านบน
ต่อกันด้วยไมค์ลอย SONAR WM-600 ที่ทางบริษัทได้เน้นการใช้งานที่มีคุณภาพจากการออกแบบไม่ให้มีคลื่นรบกวนสัญญาณระหว่างการใช้งาน รวมถึงการใช้ไมค์คู่ของพวกเขาก็จะไม่มีรับสัญญาณชนกันอีกด้วย โดยตัวไมค์ทั้งสองนี้จะจับสัญญาณได้ไกลที่สุดถึง 30 เมตร รวมถึงยังต่อเข้ากับ Mixer และ Power Amp ได้ เช่นเดียวกับทาง SONAR ที่ใช้วัสดุที่แข็งแรงและไม่ทำให้ไมค์หลวมจนใช้งานไม่สะดวกนั่นเอง
รีวิวจากผู้ใช้จริง: สภาพที่สมบูรณ์ดีใช้งานได้ปกติ
มากันที่ไมค์ลอยของ Riworal รุ่นต่อมาอย่าง SE-4 ที่มีการรองรับการเชื่อมต่อมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแบบบลูทูธ หรือจะเป็นการร้องผ่านสมาร์ททีวี กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์หรือจะเป็นโปรเจคเตอร์กับสมาร์ทโฟนก็ทำได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งานได้ไกลถึง 50 เมตร ขณะที่ฟีเจอร์ด้านในยังมีทั้งการป้องกันการรบกวนคลื่นและเสียงต่าง ๆ ไปจนถึงรับความถี่ได้จนน่าจะโดนใจคนชอบใช้เสียงไม่น้อยเลย
รีวิวจากผู้ใช้จริง: คุณภาพเสียงชัดเจน คุณภาพเสียงดี
ต่อกันด้วยไมค์ลอยจาก Riworal ในรุ่น RSX-2 ที่มาพร้อมกับเครื่องรับสัญญาณที่พวกเขายืนยันว่าสามารถรองรับสัญญาณได้ถึง 100 เมตรด้วยกัน โดยเครื่องนี้จะมีสี่เสาอากาศและมีความคมชัดสูงขึ้น จนสามารถใช้งานได้ตามวาระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง การแสดง การบันทึกเสียงหรือจะเป็นการใช้ในที่ประชุม นอกจากนี้ยังสามารถปรับความถี่ได้ตามความต้องการและป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีเช่นกัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง: วัสดุที่ใช้ทำก็ถือว่าค่อนข้างดีมากๆได้มาตรฐาน!.ในราคาที่ไม่แพง
ด้านไมค์ลอย Sonar UM-601 ยังคงเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจ เพราะทางบริษัทได้เน้นเรื่องประสิทธิภาพและการรับสัญญาณที่ไกลไม่น้อยเลย รวมถึงการรับขยายเสียงภายในตัวที่ทำให้รุ่นนี้แตกต่างจากไมโครโฟนอื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับเสียงอย่างเดียวนั่นเอง ส่วนการตั้งค่าความถี่ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะในไมค์ไร้สายตัวนี้สามารถปรับความถี่ได้แบบอัตโนมัติเลยทีเดียว แถมยังใช้กับตัวรับสัญญาณเครื่องอื่นได้อีกด้วย
รีวิวจากผู้ใช้จริง: คุณภาพพอใช้ได้ครับ ไมค์เก็บเสียงดี แต่ต้องปรับดังๆหน่อยไม่งั้นร้องเหนื่อย โดยรวมโอเครมากๆครับ เสียงร้องชัดเจน
นี่คือไมค์ลอยอีกตัวจากแบรนด์ Riworal RA-26 ที่ขยับรุ่นขึ้นมา โดยตัวไมโครโฟนได้ใช้วัสดุจากโลหะที่มีความแข็งแรงมากขึ้นและใช้งานร่วมเครื่องรับสัญญาณที่ใช้คลื่นความถี่สูง 800 MHz จนช่วยลดคลื่นความถี่รบกวนได้ดีกว่าเดิม ขณะที่ไมค์รุ่นนี้ยังใช้พร้อมกับอุปกรณ์อื่นได้พร้อมกันแบบไม่ต้องกลัวเสียงชนกัน นอกจากนี้ยังใช้งานได้ในระยะ 100 เมตรจนเหมาะกับงานใหญ่แบบไม่ต้องสงสัย
รีวิวจากผู้ใช้จริง: เสียงดีใช้ได้ครับ คุ้มค่ากับราคานี้มากเสียงใส
หากต้องการใช้ไมค์ลอยที่รองรับการใช้งานหลายตัวพร้อมกันได้ ทาง Riworal GA80 เองน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลย โดยไมค์ไร้สายที่ใช้คลื่น 600 MHz ตัวนี้ก็จัดว่ามีคุณภาพมากจากการรองรับไมโครโฟนถึง 8 ตัวด้วยกัน ตามด้วยมีปุ่มปรับความถี่ให้ไม่ชนกัน รวมถึงหน้าจอ LCD ที่บอกช่องสัญญาณกับแบตเตอรี่ก็เพิ่มความสะดวกต่อการใช้งานเช่นกัน หากใครที่ต้องการใช้ไมโครโฟนในสถานที่กว้างก็สามารถมองรุ่นนี้ไว้ได้เลย
รีวิวจากผู้ใช้จริง: สินค้าใช้ง่าย ประกอบง่าย มีคู่มือ
ไมค์ลอยจาก Sherman ในรุ่น MIC-332 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไมโครโฟนไร้สายสำหรับคนที่ใช้งานไมโครโฟนหลายตัวพร้อมกัน โดยจะใช้คลื่นความถี่แบบ UHF ครอบคลุมช่วงความถี่ 803.3-805.4 MHz และยังอยู่ในระดับที่ กสทช.ได้กำหนดเอาไว้อีกด้วย แถมตัวไมค์ไร้สายตัวนี้ยังคงสามารถรับสัญญาณได้ไกลถึง 50 เมตรในที่โล่ง จนกระทั่งเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไมโครโฟนสำหรับการใช้ในพิธีใหญ่นั่นเอง
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ได้ห้าดาว
ไมค์ลอยตัวสุดท้ายของลิสต์นี้มาจาก Soundvision SU-820D ที่มีเทคโนโลยีในการตัดเสียงรบกวนได้ดีไม่น้อยเลย โดยคนที่ใช้งานไมโครโฟนหลายตัวพร้อมกันไม่จำเป็นต้องกังวลอีกด้วย แต่ยังมีจุดเด่นที่ใช้แบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้นานกว่าเดิม ส่วนบนไมค์ยังมีหน้าจอ LCD ที่บอกทั้งคลื่นความถี่และการใช้แบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังรับสัญญาณได้ไกล 50-100 เมตรและใช้ได้ในหลากหลายพิธีการอีกด้วย
รีวิวจากผู้ใช้จริง: จิ๋วแต่แจ๋ว เสียงใสดีครับ
ไมค์ลอยทำงานยังไง
ตัวไมค์ลอยก็มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างออกไปตามรุ่นต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมีตัวรับสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่อง สายแจ็ค 6.35 mm. สาย3.5 หรือบลูทูธที่มีการส่งคลื่นความถี่เพื่อเข้าเครื่องรับสัญญาณต่อไป
วิธีเลือกซื้อไมค์ลอย
หนึ่งในวิธีการเลือกซื้อไมค์ลอยก็คือ การใช้งานแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นการรับสัญญาณที่มากกว่าของรุ่นใหญ่หรือการใช้งานส่วนตัวในห้องเล็กที่จะสามารถเลือกไมโครโฟนได้อย่างเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม
ไมค์ลอยอยู่ได้นานแค่ไหน
ตามปกติแล้ว ไมค์ลอยก็จะต้องใช้ถ่านต่าง ๆ เพื่อส่งสัญญาณไปหาเครื่องรับ ซึ่งในบางรุ่นก็จะใช้พลังงานมากจนอยู่ได้ 5 ชั่วโมงขึ้นไป หรือจะเป็นรุ่นรองลงมาแต่มีคลื่นที่ใช้พลังงานน้อยกว่าก็อาจอยู่ได้นานนับ 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว
บทส่งท้าย
จากที่เห็นไมค์ลอยต่าง ๆ ในลิสต์นี้แล้ว ก็คงจะเห็นว่ามีไมค์ลอยมากมายให้เลือกใช้ในตลาด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ การใช้งานหลายคนหรือพื้นที่จำกัดมากแค่ไหน หากผู้ที่สนใจเปรียบเทียบไมโครโฟนต่าง ๆ ในลิสต์ก็น่าจะเริ่มเจอกับรุ่นที่เข้ากับการใช้งานจริงอย่างแน่นอน