จากที่เราช่วยทุกคนในการเลือกซื้อ Mainboard ในบทความ 12 เมนบอร์ด ยี่ห้อไหนดี บนเว็บไซต์ ProductNation ของเราเพราะฉะนั้นในครั้งนี้เราก็มากับการแนะนำ Power Supply หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญสำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์ เรามาดูกันว่ารุ่นไหนที่จะสามารถตอบโจทย์การใช้งานของทุกคนได้ และในครั้งนี้ก็คัดมาให้มากถึง 12 รุ่นเลยทั้งราคาถูกใช้งานได้ดี และราคาสูงที่มาพร้อมความสามารถแบบจัดเต็ม
บรรณาธิการ
Table of Contents
12 พาวเวอร์ซัพพลาย (power supply) ยี่ห้อไหนดี วัตต์เต็ม ได้มาตรฐาน 2024
Power Supply thermaltake ที่มีมาให้เลือกทั้ง 550 วัตต์, 650 วัตต์ และ 750 วัตต์ ก็คือสามารถเลือกให้เหมาะกับรุ่นหรือสเปคคอมพิวเตอร์ที่เราจะใช้งานได้เลยรุ่นนี้พร้อมทั้งยังมากับการรัประกันสูงสุดที่ 3 ปี กับมาตรฐาน 80 plus ในระดับ White ถึงจะไม่ได้มากับมาตรฐานในระดับสูงแต่ก็เชื่อมมั่นได้เลยว่าจ่างวัตต์เต็มใช้งานได้ดียาวนานแน่นอน รองรับการเชื่อมต่อด้วยสาย mian power 20+4 pin (1 ช่อง), ATX 12 V 4+4 pin (1 ช่อง), SATA 4 pin (6 ช่อง), PCI-E 6+2 pin (2 ช่อง), Peripheral 4 pin (5 ช่อง) และ FDD 4 pin (1 ช่อง)
รีวิวจากผู้ใช้
“จ่ายไฟได้นิ่ง พัดลมเสียงเงียบมาก ประกัน synnex ทำให้มั่นใจได้ในบริการหลังการขาย”
ใครที่เป็นเกมเมอร์สายไฟแบบจัดเต็มต้อง power supply 650 watts รุ่นนี้เลย THERMALTAKE SMART BX1 RGB โดยในรุ่นนี้มาพร้อมกำลังไปที่ 650 วัตต์ให้เลือกไม่เพียงเท่านั้นยังมากับไฟ LED RGB ที่สามารถแสดงได้ถึง 7 สี (แดง, เขียว, น้ำเงิน, เหลือง, ม่วง, น้ำเงินอ่อนและขาว) แบบจัดเต็มสมชื่อรุ่น RGB ด้านมาตรฐานก็ให้มาในระดับ 80+ BRONZE ด้วยเพราะฉะนั้นมันใจได้เลย ด้านการรับประกันก็ให้มาถึง 5 ปีด้วย สำหรับช่องเชื่อมต่อก็ให้มาในรูปแบบ Non-Modular ที่ไม่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้ก็ต้องทำการจัดสายไฟให้ดีซักหน่อย
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
BE QUIET แบรนด์ Power Supply จากประเทศเยอรมัน ที่มาพร้อมกับมาตรฐานที่เราเชื่อมั่นและมั่นใจได้เลยทั้งในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานโดยในรุ่นนี้เป็น Power Supply ในระดับเริ่มต้นที่มากับกำลังวัตต์ที่ 600W ด้วยมาตรฐานการสูญเสียกำลังไฟที่ 80 PLUS BRONZE ด้วยสายเชื่อมต่อที่ให้มาจะเป็นแบบ Non-Modular คือถอดสายไม่ได้ตามช่วงราคานี้ อีกเรื่องขึ้นชื่อที่มาตามชื่อแบรนด์ BE QUIET นั่นก็คือเสียงเงียบหรือมีเสียงรบกวนที่น้อย
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
COUGAR อีกหนึ่งเแบรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่หลายคนเลือกใช้ โดยใน power supply แนะนํารุ่นนี้มาในราคาที่เรียกได้ว่าคุ้มค่าด้วยกำลังวัตต์ที่ 550 วัตต์ซึ่งจะเหมาะกับ สเปคคอมพิวเตอร์ในระดับเริ่มต้นไม่ได้ต้องการความแรงมากนัก นอกจาก 550 วัตต์แล้ว Power Supply ซีรีส์นี้ก็ยังมีตัวเลือก 350 วัตต์, 450 วัตต์ และ 650 วัตต์ด้วยนั่นเอง ไม่เพียงเท่านั้นในรุ่นนี้ยังมาพร้อมกับ มาตรฐาน 80 Plus White ด้านการเชื่อมต่อก็ให้มาแบครบ ๆ ทั้ง Main Connector, CPU Connector, Peripheral, S-ATA, PCI-E เป็นต้น
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
Power Supply 550w จาก Antec Atom แบรนด์ Power Supply ที่อาจจะไม่ได้ดังในไทยมากนักที่ก็ทำหน้าที่เป็นเบื้องหลังการผลิตให้กับหลายแบรนด์ โดยในรุ่นนี้จะมาในชื้อ B550 ที่มากับการรองรับกำลังวัตต์ที่ 550 วัตต์สมชื่อ พร้อมทั้งยังมากับมาตรฐาน 80 PLUS BRONZE ด้านการรับประกันก็เชื่อมั่นได้ ในส่วนของการเชื่อมต่อจะมากับสายแบนที่ช่วยให้จัดสายได้ง่าย ไม่พันกัน ในด้วยของมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยก็เสริมมาด้วย OPP / OVP / UVP / SCP นั่นเอง
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
ทางเลือกสำหรับสายคุ้มจาก ANTEC ในชื่อรุ่น ATOM V550 ที่อาจจะไม่ได้เน้นในเรื่องของมาตรฐาน 80 Plus เหมือนรุ่นอื่น ๆ แต่เน้นที่ราคาเข้าถึงได้ง่ายกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปตามช่วงราคา ด้านการรับประกันก็ให้มาที่ 2 ปี สำหรับการเชื่อมต่อก็ให้ ATX Main Connector (20+4 Pin) x 1 ช่อง, CPU Power Connector (4+4 Pin) x 1 ช่อง, PCIe Power Connector (6+2 Pin) x 2 ช่อง, SATA Power Connector 5 ช่อง, Peripheral Power Connector 2 ช่อง, Floppy Power Connector 1 ช่อง
รีวิวจากผู้ใช้
“antec 550watts. เพาเวอร์คุณภาพสูงจ่ายไฟเสถียร มาพร้อมพัดลมระบายความร้อนภายในตัวใหญ่ สายคอนเน็คเตอร์ที่ครบครัน ในราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้”
power supply 750w สำหรับ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในสเปคที่แรงขึ้นมาหน่อยก็ต้องรุ่นนี้เลยจาก Corsair ที่มาพร้อมกับมาตรฐาน 80 Plus ในระดับ Gold เลย ด้านการเชื่อมต่อก็ให้มาแบบครบ ๆ ตามช่วยราคาและยังเป็นแบบ Full-Modular ที่สามารถถอดหรือต่อสายออกจากตัวอุปกรณ์ได้หมดทุกเส้น เหมาะมาก ๆ สำหรับสายจัดสายไฟเอาให้เนียบเลย สายไหนไม่ใช้ก็ไม่ต้องมีให้รก ไม่เพียงเท่านั้นในรุ่นนี้ยังชูจุดเด่นในเรื่องของความเงียบขณะ ลดเสียงรบกวนขณะใช้งานด้วย
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสาย RGB จาก Corsair ในรุ่น CX650F ที่ให้กำลังวัตต์มาสูงสุดที่ 650 วัตต์และยังมากับตัวเลือกกำลังวัตต์ที่ 550 วัตต์ และ 750 วัตต์ด้วยซีรีส์นี้ ในเรื่องมาตรฐานก็ให้มาตามราคาเลย ในระดับ 80 Plus Bronze ด้วย ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับการเชื่อมต่อก็ให้มาแบบครบครัน ในรูปแบบสไตล์ Full-Modular ที่ให้ทุกคนเสียบสายเฉพาะที่ใช้ได้เลย จัดสายได้ง่าย การรับประกันก็ไม่ต้องเป็นห่วงเลย สำหรับแบรนด์นี้ ด้านไฟ RGB ก็มาแบบจัดเต็มสมชื่อกับใบพัดของตัวพัดลม
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
Power Supply Full-Modular ซีรีส์ระดับพรีเมียม Hi-end จาก CORSAIR ที่มาให้เลือกทั้งขนาดกำลังวัตต์ที่ 600 และ 750 วัตต์ ในส่วนการมาตรฐาน 80 PLUS ที่เป็นจุดเด่นของรุ่นนี้ก็คือให้มาที่ 80 PLUS® Platinum เลย เรียกได้มามีอัตตราการสูญเสียกำลังวัตต์เมื่อใช้งานเต็มประสิทธิภาพ 100% หรือ Full load ที่น้อยมาก ๆ ใช้ไฟได้เต็มวัตต์เลย ส่งผลให้การรับประกันของรุ่นนี้นั้นก็ให้มายาวนานถึง 7 ปีเลย มาตรฐานความปลอดภัยหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็เชื่อได้เลยว่าจัดเต็มแน่นอนรุ่นนี้
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
แบรนด์ Power Supply ในตำนานที่หลายคนเชื่อมั่นในชื่อแบรนด์ ENERMAX โดยในรุ่นนี้จะมากับ กำลังวัตต์สูงถึง 850 วัตต์ที่มาในราคาที่คุ้มค่ากับวัตต์ที่ให้มาสุด ๆ พร้อมทั้งยังมากับมาตรฐาน 80 PLUS ในระดับ GOLD เลย ด้านการเชื่อมต่อสายก็ให้มาในรูปแบบ Full Modular ด้วยเรียกได้ว่าคุ้มสุด ๆ เลยตัวนี้สำหรับใครที่ใช้สเปคคอมแรง ๆ ใช้งานอุปกรณ์หลากหลายในการจัดสเปคคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องก็มาแบบครบ ๆ ทั้ง สายเชื่อมต่อและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ
รีวิวจากผู้ใช้
“สินค้าดี วัสดุมีความทนทานสูง มีระบบเปลี่ยนทิศทางพัดลมเพื่อเป่าไล่ฝุ่นออกจากตัวพาวเวอร์ซัพพลายในตัว ใช้งานง่าย เป็นแบบ Fully Modular โดยรวมถือว่าคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายครับ ได้รับสินค้ารวดเร็ว แพ็คมาปลอดภัย”
อีกหนึ่งแบรนด์ Power Supply ราคาคุ้มค่าที่เข้าถึงง่าย พร้อมทั้งยังมากับตัวเลือกกำลังวัตต์ที่ 500 วัตต์ , 600 วัตต์ และ 700 วัตต์ ด้านมาตรฐานก็ให้มาที่ 80 plus ในระดับ White ก็ถือว่าเชื่อถือได้ในระดับนึงเลยแบรนด์นี้ ด้านการเชื่อมต่อก็ให้ ขั้วต่อเมนบอร์ด 24 / 20 พิน (500 มม.) x 1 ขั้วต่อ EPS / ATX 12V 8 / 4 พิน (750 มม.) x 1 ขั้วต่อ PCIE 8 / 6 พิน (“500 มม. / 150 มม. “) x 2 ขั้วต่อ SATA (“500 มม. / 150 มม.” x 2) x 4 ขั้วต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง 4 พิน (500 มม. / 150 มม. / 150 มม.) x 3 ขั้วต่อฟล็อปปี้ 4 พิน (500 มม. / 150 มม. / 150 มม. / 150 มม.) x 1 ก็ถือว่าครบเลยในราคานี้
รีวิวจากผู้ใช้
“คุณภาพของสินค้าดีคุ้มค่ากับราคา ที่ได้มา ใช้งานได้ดี”
Cooler Master แบรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เกมมิ่งขวัญใจใครหลายคนโดยในรุ่นนี้มาพร้อมกับกำลังวัตต์ที่ 750 วัตต์ด้วยมาตรฐาน 80 PLUS Bronze ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ ในราคานี้ ด้านการรับประกันก็ให้มาที่ 5 ปีด้วยรุ่นนี้ นอกจาก 750 วัตต์ซีรีส์นี้ก็ยังมาพร้อมกับตัวเลือก 550 วัตต์และ 650 วัตต์ด้วยสำหรับการเชื่อมต่อในรุ่นนี้จะมาในรูปแบบ Non-Modular ที่ไม่สามารถถอดสายได้แต่ถึงอย่างนั้นการเชื่อมต่อก็ให้มาครบ ๆ เชื่อมั่นได้เลย
รีวิวจากผู้ใช้
“ได้รับของเเล้วครับใช่งานปกติดีมากครับเสียงเงียบ ส่งไวมากกก”
Power supply คืออะไร มีหน้าที่อะไร
Power Supply หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงไฟเข้าสู่คอมพิวเตอร์พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการส่งพลังงานให้กับแต่ละอุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น CPU, Mainboard, GPU (การ์ดจอ), ที่เก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์, ระบบระบายความร้อน รวมถึงแสดงสี RGB ของตัวคอมพิวเตอร์ก็ ใช้พลังงานจาก PSU เช่นกัน คล้ายกับร่างกายของเราที่เมื่อทานอาหารแล้วก็ต้องมีระบบในการแปลงอาหารที่ทานเข้าไปเป็นพลังงานและส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
Power supply ที่วัตต์เยอะบอกอะไรเรา
เพาเวอร์ซัพพลาย ความแตกต่างหลักของแต่ละรุ่นหรือแต่ละระดับราคานั้นก็คือเรื่องของกำลังวัตต์ ที่ PSU แต่ละตัวนั้นรองรับซึ่งยิ่งกำลังวัตต์มากก็ยิ่งรองรับอุปกรณ์ได้มากหรือรองรับอุปกรณ์ที่ต้องการหรือกินพลังงานมากได้หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน หรือก็คือยิ่งสเปคคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งแรงก็ต้องการ power supply ที่มีกำลังวัตต์ที่มาก สำหรับสเปคคอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานที่ไม่ได้แรงนักก็อาจจะไม่ต้องการ power supply ที่มีกำลังวัตต์ที่สูงนัก ทั้งนี้ก็มีอีกหลากหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงรวมด้วยกับการเลือกซื้อ PSU ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน 80 PLUS หรือ คำนึงในเรื่องของการอัพเกรดสเปคคอมพิวเตอร์ในอนาคต
วิธีการเลือกซื้อ power supply
power supply อาจจะไม่ใช่อุปกรณ์แรก ๆ ที่เราเลือกซื้อเพราะรุ่นหรือกำลังวัตต์ที่เราต้องเลือกนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสเปคคอมพิวเตอร์ที่เราเลือกประกอบด้วย เราจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับ หรือสำหรับบางคนที่ไม่ได้คำนึงในเรื่องของงบประมาณก็อาจจะเลือก PSU ในรุ่นที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ ไปเลยสำหรับเผื่อการใช้งานแต่ทั้งนี้เราก็อาจจะไม่สามารถใช้งาน power supply ในได้อย่างคุ้มค่า เพราะฉะนั้นมาดูปัจจัยที่เราอยากแนะนําสำหรับการซื้อ power supply กัน
- กำลังวัตต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
แน่นอนอยู่แล้วอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าการเลือก power supply จะต้องเลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ถ้าใช้อุปกรณ์มากหรืออุปกรณ์ที่ใช้มีความแรงและต้องการกำลังไฟมาก ๆ ก็ควรเลือกในรุ่นที่มีกำลังวัตต์สูง ๆ เช่น 750 วัตต์ขึ้นไป แต่สำหรับคอมที่ไม่ได้แรงนักก็อาจจะเลือก PSU ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น น้อยกว่า 600 วัตต์ ทั้งนี้อาจจะต้องใช้การคำนวนกำลังวัตต์ที่ต้องการของแต่ละอุปกรณ์เพื่อความแม่นยำ นอกจากนั้นในการเลือกซื้อก็ควรเลือกเผื่อการใช้งานจากสเปคของตนเองไปด้วยเช่นถ้าคำนวนได้ 500 วัตต์ก็ควรเลือกรุ่นที่มีกำลังวัตต์มากกว่า 500 เช่น 550 หรือ 600 ขึ้นไป
- มาตรฐาน 80 PLUS
มาตรฐาน 80 PLUS เป็นมาตรฐานของการจ่ายไฟสำหรับ power supply ที่หลากหลายแบรนด์เลือกใช้คล้ายคลึงกับฉลากประหยัดไฟ โดยจะเรียงลำดับจาก 80 Plus White, 80 Plus Bronze, 80 Plus Silver, 80 Plus Gold, 80 Plus Platinum, 80 Plus Titanium โดยมาตรฐานนี้จะพูดถึงพลังงานที่จะจ่ายออกไปให้กับคอมพิวเตอร์ตามจริงเมื่อใช้งาน Full Load หรือ 100% หรือถ้าพูดกลับกันก็คือเมื่อ PSU ทำงานเต็มที่จะสูญเสียกำลังวัตต์จากเลขสเปคไปเท่าไหร่นั่นเอง ถ้ายิ่งได้มาตรฐานในระกับที่สูงก็แปลว่ามีการสูญเสียกำลังวัตต์เมื่อใช้งานเต็มประสิทธิภาพที่น้อย
- ขนาดและดีไซน์
สำหรับเรื่องขนาดและดีไซน์อาจจะไม่ใช้เรื่องที่ใครหลายคนคำนึงถึง ในการประกอบคอมพิวเตอร์หนึ่งในสิ่งที่ คนประกอบจะต้องเลือกตัดสินใจหรือมีภาพในหัว นั่นก็คือขนาดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ประกอบหรือ DIY นั้นก็ตามชื่อเลยคือให้ความอิสระในการเลือกแต่ละอุปกรณ์มาประกอบเข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องขนาด PSU ที่เราจะเลือกซื้อไปประกอบกับคอมพิวเตอร์ที่เราต้องการด้วย ตัวอย่างเช่น คอมขนาด Mini ITX ก็อาจจะต้องการ power supply ที่มีขนาดเล็กกว่า PSU ทั่วไปนั่นเองรวมถึงบางรุ่นก็มาพร้อมกับ ไฟ RGB ด้วย
สำหรับในเรื่องของดีไซน์ก็ยังมีเรื่องการเชื่อมต่อสายที่มีให้เลือกถึง 3 แบบคือ Non-Modular ที่ไม่สามารถทำการถอดออกได้, Semi-Modular มีช่องสำหรับเชื่อมต่อสายเคเบิลบางประเภทเพิ่มเติมได้ แต่จะมีสายหลักติดตั้งมากับอุปกรณ์คล้ายกับประเภท Non-Modular, Full-Modular ที่สามารถถอด/ต่อสายออกจากตัวอุปกรณ์ได้หมดทุกเส้นนั่นเอง ซึ่งแต่ละอันก็จะเหมากับการใช้งานที่แตกต่างกันรวมถึงราคาด้วย ที่ถ้ายิ่งสามารถถอดเปลี่ยนได้หมดก็จะยิ่งมีราคาที่สูงไปด้วย
บทส่งท้าย
นอกจากทั้ง 12 ที่เราเลือกมานั้นเราก็เชื่อมั่นว่ายังมี power supply อีกหลายหลายรุ่นที่น่าสนใจและเราควรที่จะนำมาแบ่งปันกับทุกคนแต่ถึงอย่างนั้น บทความในครั้งนี้ก็อาจจะยากเกินไปเพราะในตลาดก็ยังมีอีกหลายระดับวางขาย แต่เราก็หวังว่าจะสามารถช่วยทุกคนในตัดสินใจเลือกหรือค้นหา Power supply ที่จะเหมาะสมกับการใช้งานหรือสเปคคอมพิวเตอร์ของทุกคนด้วยนั่นเอง หรือสำหรับใครที่ยังไม่เจอรุ่นที่ถูกใจเราก็หวังว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันไอเดียในการเลือก Power Supply สักรุ่น