Welcome Citizen!

บันทึกตอนนี้เลย แล้วซื้อทีหลัง เราจะแจ้งคุณถ้าราคาลด

Welcome Citizen!

Setup your account or continue reading!

Settings
MIT เผยผลวิจัย ChatGPT อาจบั่นทอนความคิดเชิงวิเคราะห์ของผู้ใช้ในระยะยาว

MIT เผยผลวิจัย ChatGPT อาจบั่นทอนความคิดเชิงวิเคราะห์ของผู้ใช้ในระยะยาว

เมื่อความสะดวกจาก AI อาจแลกมาด้วยการเสื่อมถอยของสมอง

งานวิจัยล่าสุดจาก Media Lab แห่ง MIT - Your Brain on ChatGPT: Accumulation of Cognitive Debt when Using an AI Assistant for Essay Writing Task ซึ่งเผยแพร่ก่อนการตรวจสอบแบบ peer review พบว่า การใช้ ChatGPT เป็นเวลานานทำให้สมองทำงานน้อยลง โดยนักวิจัยนำโดย นาตาลียา คอสมินา (Nataliya Kosmyna) ได้ทำการทดลองเก็บข้อมูลกับผู้เข้าร่วมอายุ 18-39 ปี 54 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม: กลุ่มใช้ ChatGPT, กลุ่มใช้ Google Search และกลุ่มไม่ใช้เครื่องมือใดๆ ให้เขียนเรียงความ SAT ขณะบันทึกการทำงานของสมองด้วย EEG ครอบคลุม 32 บริเวณ พบว่ากลุ่มใช้ ChatGPT มีการทำงานของสมองต่ำสุด ทั้งในแง่คลื่นอัลฟา ความเชื่อมโยงทางประสาท และความใส่ใจต่อโจทย์


เมื่อต้องเขียนเรียงความเดิมซ้ำโดยไม่ใช้ AI กลุ่มที่เคยใช้ ChatGPT จำเนื้อหาเดิมได้เพียงเล็กน้อย และมีคลื่นสมองที่บ่งบอกถึงการไม่ใช้ความจำระยะยาว ในขณะที่กลุ่มที่เขียนเองตอนแรกและเพิ่งมาใช้ AI กลับแสดงคลื่นสมองเชื่อมโยงดีขึ้น ชี้ว่าการใช้ AI หลังสร้างพื้นฐานด้วยตนเองอาจเป็นประโยชน์ แต่การพึ่งพาตั้งแต่ต้นทำให้ความสามารถเชิงวิเคราะห์ลดลง


ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาเตือน เช่น ศ. คาเรน นอร์ธ (Karen Kovacs North) แห่ง USC ระบุว่า งานวิจัยนี้ตอกย้ำความกังวลที่มีมานานว่า AI ทำลายการคิดวิเคราะห์ ขณะที่ เดวิด เบเดอร์ (David Bader) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลชื่อดัง เห็นด้วยว่าหลักฐาน EEG แสดงให้เห็นการพึ่งพา AI อาจสร้าง “วงจรย้อนกลับ” ที่ทำให้คนยิ่งเสื่อมทักษะตนเอง และรอแต่ให้ AI คิดแทน

บรรณาธิการ

Ing On chevron_right

...

ผลกระทบต่อเด็ก และอาชีพที่ต้องใช้เหตุผลลึกซึ้ง

คอสมินาระบุว่าเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด เพราะสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ หากมี “GPT Kindergarten” จริง อาจสร้างผลเสียถาวรต่อพัฒนาการ ส่วนในวิชาชีพอย่างกฎหมายหรือโปรแกรมมิ่ง การใช้ AI แทนการฝึกคิดอาจทำให้ขาดรากฐานที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง นักวิจัยเผยผลเบื้องต้นจากการทดสอบกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ พบผลลัพธ์แย่ยิ่งกว่าในกลุ่มเขียนเรียงความเสียอีก

แม้การใช้ AI ตั้งแต่ต้นจะลดการทำงานของสมอง แต่การใช้ AI เสริมหลังจากเข้าใจพื้นฐานแล้ว กลับช่วยเพิ่มการเชื่อมโยงของสมอง นักวิจัยจึงชี้ว่าควรเน้นให้คนฝึกคิดเองก่อน แล้วใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยเท่านั้น พร้อมเรียกร้องให้ภาครัฐและสถาบันการศึกษาวางมาตรการกำกับการใช้งาน AI เพื่อป้องกันผลเสียระยะยาว

ที่มา: TIME, TechNewsWorld
สิ้นสุดบทความ