ทุกครั้งที่หยิบมือถือขึ้นมา สิ่งแรกที่สะดุดตาแทบทุกครั้งก็คือ “หน้าจอ” พื้นที่ที่นิ้วสัมผัสมากที่สุด ทั้งแชท เล่นเกม ดูซีรีส์ หรือแม้แต่แต่งรูป แต่รู้ไหมว่า จอมือถือ จริง ๆ แล้วมีหลายแบบมาก แต่ละแบบก็มีสไตล์เฉพาะตัว ทั้งด้านสี ความคมชัด มุมมอง และการกินแบต
บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ จอมือถือแต่ละประเภท, วิธีแยกความต่างระหว่าง LCD กับ AMOLED, และเปิดโลกเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง LTPO, จอโค้ง, หรือแม้แต่ กล้องใต้จอ ที่มือถือรุ่นเรือธงกำลังใส่มาแข่งกันแบบดุเดือด
ใครกำลังจะซื้อมือถือใหม่ หรืออยากเข้าใจว่า ทำไมจอบางเครื่องถึงดู “ว้าว” กว่าชาวบ้าน ทั้งที่สเปคบนกระดาษคล้ายกัน บทความนี้อธิบายให้แบบชัด ๆ ไม่ต้องเป็นสายเทคก็อ่านรู้เรื่องแน่นอน

บรรณาธิการ
Table of Contents
ประเภทของหน้าจอมือถือที่ใช้กันในปัจจุบัน
จอมือถือไม่ได้มีแค่ "สวยหรือไม่สวย" แต่เบื้องหลังยังเต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานแทบทุกด้าน ทั้งความชัด สี ความลื่นไหล การกินพลังงาน และแม้แต่สุขภาพสายตา ซึ่งจอมือถือในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ที่ยังพบได้ในปี 2025 ได้แก่ LCD, OLED, Mini-LED / Micro-LED, และ E-Ink
LCD (Liquid Crystal Display)

เทคโนโลยีจอมือถือแบบดั้งเดิมที่ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในมือถือกลุ่มเริ่มต้นถึงระดับกลาง เหมาะกับคนที่เน้นความคุ้มค่า ใช้งานทั่วไป ไม่เน้นสีจัดจ้านหรือจอหรู ใช้แสงจากแผง backlight ช่วยแสดงภาพ จึงไม่สามารถแสดง “สีดำสนิท” ได้เหมือน OLED แต่ก็มีข้อดีเรื่องความทนทานและราคาประหยัด
ประเภทย่อย:
- TFT LCD เน้นราคาถูก มุมมองแคบ สีเพี้ยนง่าย เหมาะกับมือถือราคาย่อมเยา
- IPS LCD พัฒนาต่อให้แสดงสีแม่นยำขึ้น มุมมองกว้าง สว่างดี ไม่เกิด burn-in
ตัวอย่างมือถือที่ใช้จอ LCD:
- Redmi 12 (IPS LCD)
- realme C55 (IPS LCD)
- Nokia G42 (IPS LCD)
OLED (Organic Light Emitting Diode)

จอที่สามารถเปล่งแสงในแต่ละพิกเซลได้เองโดยไม่ต้องใช้ backlight ทำให้แสดง “สีดำสนิท” ได้จริง ภาพมี contrast สูง สีสันสดใส ตอบสนองเร็ว และสามารถดัดโค้งได้ เหมาะกับการดูหนัง เล่นเกม หรือแต่งภาพ เหมาะกับคนที่ต้องการจอภาพสวย สีสด ตอบสนองเร็ว ลื่นไหลเวลาใช้งานทุกแอป แต่ต้องระวังเรื่อง burn-in หากใช้งานภาพค้างนาน ๆ
ประเภทย่อย:
- AMOLED มาตรฐาน OLED ที่ใช้กันทั่วไปในมือถือ Android
- Super AMOLED ซัมซุงพัฒนาเอง สว่างกว่า เด้งตากว่า ใช้งานกลางแจ้งดีขึ้น
- LTPO AMOLED รองรับ refresh rate แบบ adaptive ปรับได้ตั้งแต่ 1Hz ถึง 120/144Hz ช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น
ตัวอย่างมือถือที่ใช้จอ OLED:
- Samsung Galaxy S25 Ultra (Dynamic LTPO AMOLED 2X)
- iPhone 16 Pro (LTPO Super Retina XDR OLED)
- Xiaomi 15 Ultra (LTPO AMOLED)
- vivo V40 (AMOLED)
ดูเพิ่มเติม: มือถือเรือธง จอสวยมาก อัพเดทใหม่ล่าสุด
Mini-LED และ Micro-LED

เทคโนโลยีระดับพรีเมียมที่เริ่มเข้ามาในโลกมือถือและแท็บเล็ต ยังไม่แพร่หลายนักในมือถือทั่วไป แต่เป็นอนาคตที่น่าจับตา เหมาะกับผู้ใช้ระดับโปรที่ต้องการจอสุดคม สีเป๊ะ และใช้งานจอใหญ่เป็นหลัก
- Mini-LED ใช้หลอด LED ขนาดเล็กจำนวนมากควบคุมแสงเป็นโซน ๆ ให้คอนทราสต์สูงกว่าจอ LCD และใกล้เคียง OLED แต่ไม่เกิด burn-in
- Micro-LED เทคโนโลยีแสดงผลแบบ self-emissive เหมือน OLED แต่สว่างกว่า ทนกว่า ไม่เสื่อมไว
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ Mini/Micro-LED:
- iPad Pro 12.9 (2021/2022) (Mini-LED Liquid Retina XDR)
- MacBook Pro 14 / 16 นิ้ว (2021–2023) (Mini-LED Liquid Retina XDR)
- TCL X11G Max (QD-Mini LED)
- Samsung The Wall (Micro-LED Modular Display)
- Sony Crystal LED (CLEDIS) (Micro-LED Professional Display)
ปัจจุบันยังไม่มีสมาร์ทโฟนที่วางจำหน่ายจริงในตลาดทั่วไปที่ใช้จอ Micro-LED เนื่องจากข้อจำกัดด้านขนาดและต้นทุนการผลิต
E-Ink (Electronic Ink)

จอหมึกอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ประสบการณ์การอ่านใกล้เคียงกระดาษมากที่สุด เหมาะกับ คนที่เน้นอ่าน eBook, ใช้งานกลางแดดจัด หรืออยากได้จอถนอมสายตาจริง ๆไม่ปล่อยแสงเข้าตาโดยตรง ประหยัดพลังงานสุด ๆ และมองกลางแดดได้ชัดเจน แต่มีข้อจำกัดด้านความเร็วในการแสดงผล ไม่เหมาะกับวิดีโอหรือการใช้งานทั่วไป
ตัวอย่างมือถือที่ใช้จอ E-Ink:
- Hisense A9
- Onyx Boox Palma
- YotaPhone 2 (จอด้านหลังเป็น E-Ink)
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของหน้าจอมือถือแต่ละประเภท
ประเภทหน้าจอ |
ข้อดี |
ข้อเสีย |
LCD (TFT / IPS) |
|
|
OLED / AMOLED |
|
|
LTPO AMOLED |
|
|
Mini-LED |
|
|
Micro-LED |
|
|
E-Ink |
|
|
หน้าจอมือถือแบบไหนเหมาะกับใคร
สายเกมเมอร์
เน้นความลื่น คอนทราสต์ชัด จอตอบสนองไว
เหมาะกับ:
- จอ AMOLED หรือ LTPO AMOLED ที่มี refresh rate 120Hz ขึ้นไป
- รองรับ Touch Sampling Rate สูง (180Hz – 720Hz)
จุดเด่น:
- สีสด คมชัด ดำสนิท เห็นศัตรูในเกมชัดแม้ฉากมืด
- ตอบสนองไว ไม่มีอาการ ghosting หรือ motion blur
มือถือแนะนำ:
- RedMagic 10 Pro (AMOLED 165Hz)
- iPhone 16 Pro Max (LTPO OLED 120Hz)
- ASUS ROG Phone 9 Pro (AMOLED 165Hz)
สายถ่ายภาพ/แต่งรูป
ต้องการสีเที่ยงตรง คอนทราสต์ดี
เหมาะกับ:
- จอ OLED / Super AMOLED ที่รองรับมาตรฐานสี DCI-P3
- มีฟีเจอร์ปรับ color accuracy หรือ True Tone
จุดเด่น:
- เห็นสีตรงกับไฟล์จริง ไม่เพี้ยน
- ดำลึก รายละเอียดไม่หายแม้ในพื้นที่เงา
มือถือแนะนำ:
- Xiaomi 15 Ultra (LTPO AMOLED)
- Samsung Galaxy S25 Ultra (Dynamic AMOLED 2X)
- Sony Xperia 1 VI (4K OLED, color calibrated)
สายดูหนังซีรีส์
อยากได้ภาพสวยเต็มอารมณ์
เหมาะกับ:
- OLED หรือ Mini-LED ที่รองรับ HDR10+ หรือ Dolby Vision
- ความสว่างสูง 1000 nits ขึ้นไป
จุดเด่น:
- สีตัดกันชัดเจน ภาพคมแม้ในฉากมืด
- รองรับการดูเนื้อหา HDR เต็มคุณภาพบน Netflix, Disney+, YouTube
มือถือแนะนำ:
- iPhone 16 Pro Max (LTPO OLED, Dolby Vision)
- iPad Pro 12.9” M2 (Mini-LED, XDR HDR)
- Galaxy Z Fold6 (AMOLED, HDR10+)
สายอ่านคอนเทนต์/ใช้งานทั่วไป
ต้องการจอสบายตา ใช้ได้นาน
เหมาะกับ:
- จอ IPS LCD (สำหรับราคาประหยัด) หรือ
- LTPO OLED พร้อมฟีเจอร์ถนอมสายตา เช่น DC Dimming, Eye Comfort Mode
- หลีกเลี่ยงจอที่มี PWM Flicker
จุดเด่น:
- ใช้งานยาว ๆ แล้วไม่ล้า
- เหมาะกับอ่านข่าว, สไลด์โซเชียล, จดโน้ต ฯลฯ
มือถือแนะนำ:
- realme C65 (IPS LCD)
- Pixel 8a (OLED ถนอมสายตา)
- Samsung Galaxy S24 (LTPO AMOLED)
สายใช้งานกลางแจ้ง
ต้องสู้แดดได้ชัด ไม่ต้องเพ่ง
เหมาะกับ:
- จอ Mini-LED หรือ OLED ที่มี peak brightness สูงเกิน 1200 nits
- มี anti-reflective coating หรือกระจกลดแสงสะท้อน
จุดเด่น:
- อ่านได้แม้กลางแดดจ้า ไม่ต้องเอียงจอ
- ไม่หลอกตาแม้อยู่กลางแจ้งทั้งวัน
มือถือแนะนำ:
- Galaxy S25 Ultra (2600 nits)
- iPhone 16 Pro Max (2000 nits)
- Xiaomi 15 Ultra (3000+ nits)
สายอ่านหนังสือ/คอนเทนต์ขาวดำ
เน้นถนอมสายตาสุด ๆ
เหมาะกับ:
- E-Ink Display แบบเดียวกับ Kindle
- จอแบบขาว-ดำ ไม่มีแสงฉายเข้าตาโดยตรง
จุดเด่น:
- เหมือนอ่านกระดาษจริง ใช้งานได้นานโดยไม่ปวดตา
- ใช้แบตน้อยมาก
มือถือแนะนำ:
- Hisense A9 (E-Ink)
- Onyx Boox Palma (E-Ink Smartphone)
- YotaPhone 2 (E-Ink Display ด้านหลัง)
คนกังวลเรื่อง burn-in หรือจอเสื่อม
ใช้งานหนัก ๆ ทุกวัน
เหมาะกับ:
- จอ IPS LCD หรือ Mini-LED ที่ไม่เสี่ยง burn-in แม้ใช้งานหนัก
- เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์, ผู้ใช้งานค้างหน้าจอแอปเดิมนาน ๆ
มือถือแนะนำ:
- Nokia G42 (IPS LCD)
- iPad Pro 12.9” (Mini-LED)
คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับจอมือถือ
- Refresh Rate (Hz) หรือ อัตราการรีเฟรช คือ จำนวนครั้งที่หน้าจอแสดงผลภาพใหม่ใน 1 วินาที เช่น 60Hz, 90Hz, 120Hz หรือ 144Hz ยิ่งสูง ภาพยิ่งลื่น เหมาะกับการเล่นเกมและเลื่อนหน้าจออย่างต่อเนื่อง (ทำความเข้าใจ FPS vs Hz)
- Touch Sampling Rate หรือ อัตราการตอบสนองการสัมผัส คือ จำนวนครั้งที่หน้าจอตรวจจับการสัมผัสใน 1 วินาที เช่น 240Hz, 360Hz หรือสูงถึง 720Hz ในมือถือเกมมิ่ง ช่วยให้การแตะและลากนิ้วแม่นยำขึ้น
- PPI (Pixels Per Inch) คือ ความหนาแน่นของพิกเซลบนหน้าจอ ใช้วัดระดับความคมของภาพ ยิ่งตัวเลขสูง ภาพยิ่งเนียน มักพบค่า >500 PPI ในมือถือเรือธง
- Brightness / Nits คือ ความสว่างหน้าจอ ใช้บอกว่าจอมองเห็นได้ดีแค่ไหนในที่สว่าง โดยทั่วไปมือถือเรือธงปี 2025 จะมีความสว่างสูงสุดถึง 3000 - 4500 nits เพื่อใช้งานกลางแดดได้ชัดเจน
- DCI-P3 / sRGB / Color Gamut คือ ช่วงสีที่หน้าจอสามารถแสดงผลได้ เช่น sRGB (มาตรฐานทั่วไป), DCI-P3 (สีสด คม เหมาะกับดูหนังและแต่งภาพ), และ Rec.2020 (มาตรฐานระดับโปร)
- Contrast Ratio คือ อัตราความต่างระหว่างสีดำสุดกับขาวสุด ยิ่งสูง ภาพยิ่งมีมิติ โดยจอ OLED มักมีค่าคอนทราสต์ระดับ Infinity:1 เพราะสามารถแสดง “ดำสนิท” ได้จริง
- PWM Dimming คือ เทคนิคการหรี่แสงจอด้วยการกระพริบที่ความถี่สูง ซึ่งถ้าความถี่ต่ำกว่า 500Hz อาจทำให้ปวดตาหรือเวียนหัวได้ แต่จอรุ่นใหม่จะใช้ PWM ความถี่สูงถึง 1920Hz – 4320Hz เพื่อถนอมสายตาโดยเฉพาะการใช้งานในที่มืด
- HDR10 / Dolby Vision คือ มาตรฐานการแสดงผลแบบ High Dynamic Range ช่วยให้ภาพมีมิติ สีลึก แสงเงาชัด โดย HDR10+ มักพบใน Samsung และ Xiaomi ส่วน Dolby Vision เป็นมาตรฐานระดับสูงที่ใช้งานใน Apple และ Netflix ให้ภาพที่ละเอียดเฟรมต่อเฟรม