ลืมการเก็บไฟล์หรือข้อมูลบน Hard Drive แบบเดิม ๆ ไปได้เลย แบบที่มีข้อจำกัดมากมายทั้งต้องเข้าผ่านคอมพิวเตอร์ ลืมไฟล์เอาไว้ที่บ้านก็ลำบาก เรียกใช้ข้อมูลก็ยาก ไม่มีความปลอดภัย บริการฝากไฟล์ออนไลน์ก็มีค่าบริการที่ใช้แล้วไม่คุ้มค่า ทั้งแพงแถมยังต้องจ่ายรายเดือนในระยะยาว ใครที่มีการใช้ข้อมูลที่ไม่เก็บไว้กับตัวบ่อย ๆ ต้องนี่เลย “NAS” อุปกรณ์เก็บข้อมูลบนเน็ตเวิร์ค เพิ่มความสะดวกในการใช้งานข้อมูลมากกว่าที่เคย จ่ายแล้วจบจะเพิ่มลดขนาดที่เก็บข้อมูลก็ง่ายตามความต้องการ ลดข้อจำกัดของอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบเดิม ๆ
บรรณาธิการ
Table of Contents
10 NAS ยี่ห้อไหนดี ปลอดภัย ตัวช่วยในการจัดการข้อมูล เรียกใช้งานไฟล์ได้ทุกที่ทุกเวลา 2024
มาเริ่มกันที่ NAS จากแบรนด์ Synology กันบ้างซึ่งมีจุดเด่นที่ใช้งานง่าย มาพร้อมซอฟต์แวร์และระบบการจัดการข้อมูลที่ทันสมัย พร้อมแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่ช่วยการใช้งานข้อมูลนั้นง่ายขึ้นไปอีกโดย DS120j รุ่นนี้จะมากับการรองรับการเชื่อมต่อ Hard disk Drive ที่ 1 ตัวเท่านั้นอาจจะไม่เหมาะกับการเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญและไม่มีการสำรองข้อมูลเอาไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลอื่น ๆ เนื่องจากสามารถใส่ Hard Drive ได้เพียงช่องเดียวจึงไม่สามารถสำรองข้อมูลไปยัง Hard Drive อื่นได้ แต่ในซีรีส์นี้จะมีอีกรุ่นหนึ่งที่มาพร้อมช่องเชื่อมต่อ Hard Drive 2 ช่องซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานกับข้อมูลที่สำคัญมากกว่า
รีวิวจากผู้ใช้
“Synology ขึ้นชื่อเรื่อง NAS อยู่แล้ว ส่วนตัวเพื่อเอาไว้แบ๊คอัพรูปวิดีโอมือถือที่มี 512 GB แล้วก็ไม่พอ และเอาไว้แชร์ให้ครอบครัวดูพร้อม ๆกันได้ แต่กว่าจะตัดสินใจซื้อเพราะต้องศึกษาเยอะมาก แล้วรีวิวการใช้งานฟังก์ชั่นที่มีเยอะมากก็หายาก ในกล่องกลับมีวิธีการคู่มือแค่การทำให้เครื่องทำงาน แค่นั้น”
สำหรับใครที่ยังอยู่ในกลุ่มการใช้งานในระดับทั่ว ๆ ไปอยู่ แต่ตัวข้อมูลนั้นมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นหรือมีการใช้งานข้อมูลในปริมาณที่มากยิ่งขึ้นและต้องการความเร็วในการใช้งานที่มากยิ่งขึ้น ก็ต้องรุ่นนี้เลย DS220j จาก Synology แบรนด์ NAS ยอดนิยมที่ทราบกันดีว่ามากับระบบการจัดการข้อมูลที่ใช้งานง่าย และยังช่วยให้การจัดการข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย พร้อมความแอปพลิเคชันที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือนั้นง่ายไปอีกขั้น ในรุ่นนี้นั้นจะมาในซีรีส์ J เช่นเดียวกับ DS120j ซึ่งเป็นซีรีส์ NAS ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ในระดับทั่วไปหรือระดับพื้นฐาน
รีวิวจากผู้ใช้
“งงนิดหน่อยตอนตั้งค่า ต้องดูจากยูทูป พอติดตั้งเสร็จใช้งานได้ดีครับ”
สำหรับใครที่มีการใช้งานเก็บข้อมูลในระดับที่ต้องการความจริงจังมากยิ่งขึ้นในรุ่นนี้ จะมาในซีรีส์ + ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานที่จริงจังในระดับมืออาชีพมากยิ่งขึ้น โดยมีช่องสำหรับใส่ที่เก็บข้อมูล Hard Disk Drive ถึง 4 ช่องพร้อมช่องใส่ SSD m.2 เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้ข้อมูลและประสิทธิภาพในการทำงานของ NAS ที่มากยิ่งขึ้น DS920+ จะมีแรมให้มาที่ 4GB หรือจะใส่เพิ่มเติมก็ได้อีก 4GB ใช้หน่วยประมวลผล intel Celeron j4125 ทำงานได้ลื่นไหล่มีประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อก็ให้มาทั้ง USB, Sata และ Lan 1 GbE ช่วยให้ถ่ายโอนข้อมูลนั้นสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
รีวิวจากผู้ใช้
“ประทับใจมาก ดูวิดีโอ Full HD ผ่าน NAS ได้ดีมากเลย การซิงก์รูปก็ทำได้ง่าย เหมือนใช้ Google Photos เลย สามารถแยกหมวดให้ได้ด้วย และที่ชอบเป็นพิเศษคือแยกโฟลเดอร์เป็นรายวันให้เอง และเห็นไฟล์ด้วยว่ามันจัดเก็บยังไง ก็อปออกมาง่ายๆ เหมือน PC ตัวนึงเลย และยังทำอะไรได้อีกหลายๆ อย่างเลยครับ”
ถ้าใครคิดว่า DS920+ จาก Synology นั้นใหญ่เกินไป หรืออาจจะเกินความต้องการก็ต้องรุ่นนี้เลย ที่มาในขนาดที่สามารถรองรับ Hard Disk Drive 2 ตัวแต่ยังมาพร้อมกับฟังก์ชันและความสามารถต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่จริงจังหรือการใช้งานระดับองค์กรตามสไตล์ซีรีส์ + เช่นเคย นอกจากนั้นยังมาพร้อมปุ่มสำหรับสั่งงานคัดลอกข้อมูลที่เชื่อมต่อผ่านช่อง USB อัตโนมัติ ด้านสเปคใช้หน่วยประมวลผล Intel Celeron J4025 กับแรมที่ให้มา 2 GB ซึ่งสามารถเพิ่มได้อีก 4 GB
รีวิวจากผู้ใช้
“ทำงานได้ เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาใดๆ ใช้ดูหนังฟังเพลง เก็บขอมูลได้หมด เป็นที่หน้าพอใจครับ”
จากทางฝั่ง WD แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บข้อมูลก็มี Nas กับเขาเหมือนกันในหลากหลายรูปแบบ แต่แบบที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมคือ ซีรีส์ WD MY CLOUD HOME DUO เป็น Nas ในรูปแบบที่มาพร้อมที่เก็บข้อมูล Hard Disk Drive ขนาด 6TB เลยเหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไปมาก ๆ ซึ่งก็จะมีความจุให้เลือกสูงสุดถึง 20 TB เลย คือ WD MY CLOUD HOME DUO จะมาแบบพร้อมใช้ แค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้งานได้เลย ทั้งนี้ก็สามารถที่จะแกะเปลี่ยน หรืออัปเกรดตัวที่เก็บข้อมูล Hard Disk Drive ภายหลังได้ โดย WD MY CLOUD HOME DUO ก็จะมาพร้อมที่เก็บข้อมูล 2 ตัวคือ 3TB+3TB ทำงานควบคู่กันเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานหรือสำหรับ Backup ข้อมูลก็ได้
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
อีกหนึ่งตัวเลือกอุปกรณ์เก็บข้อมูล NAS สำหรับผู้ใช้งานระดับทั่วไป จาก WD ซึ่งในรุ่นนี้ก็จะมาพร้อม Hard Disk Drive ในตัวแบบพร้อมใช้ ซึ่งแค่เปิดเครื่องและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมและใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องเลือกซื้ออุปกรณ์เก็บข้อมูลมาใช้งานใส่ใช้งานเพิ่มเติม โดยมีให้เลือกหลากหลายขนาดความจุตั้งแต่ 2TB ถึง 8TB ซึ่งตัวเครื่องจะมาพร้อม ช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ 1 ช่องและแน่นอนว่าทาง WD ก็มาพร้อมกับระบบการจัดการ เรียกใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพใช้งานง่ายด้วย
รีวิวจากผู้ใช้
“ได้หาข้อมูลของสินค้าจากรีวิวต่าง ๆ และตัดสินใจอยู่นานพอสมควร เนื่องจากสินค้าค่อนข้างจะมีราคาสูง อีกอย่างคือต้องเลือกขนาดความจุเลย แต่พอได้ลองใช้งาน ก็รู้สึกพึงพอใจ การ design ของตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สวยงาม สามารถตั้งโชว์ได้ การ Setting ตัวเครื่องในการใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย แนะนำค่ะ”
สำหรับใครที่ไม่ชอบจ่ายค่าบริการ Cloud Storage แบบรายเดือนหรือรายปีแต่ก็ไม่อยากที่จะปวดหัวกับการเริ่มใช้ Nas ที่อาจจะดูยุ่งยากซับซ้อนมากเกินไป และไม่ได้จำเป็นหรือต้องการที่เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากนัก อาจจะใช้งานเก็บภาพถ่ายหรือไฟล์ข้อมูลทั่ว ๆ ไป ที่ไม่สำคัญมากนัก แต่ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะพกอุปกรณ์เก็บข้อมูลไปไหนมาไหน อยากที่จะสามารถมองหาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นี้ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคุณจาก WD ที่มาในขนาดความจุ 2TB
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
อีกหนึ่งแบรนด์ที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลบนเน็ตเวิร์คอย่าง NAS ให้เลือกใช้งานโดยรุ่นนี้สามารถจะ hard disk drive ได้ที่ 2 ตัวรองรับความจุสูงสุดที่ 32 TB ด้วย hard disk drive 16 TB 2 ตัวให้ช่องเชื่อมต่อ USB มาถึง 3 ช่อง และช่อง LAN Gigabit Ethernet 1 ช่อง มีปุ่ม copy/sync สำหรับ backup ข้อมูล จาก external devices ผ่านพอร์ต USB มาให้ ด้านฟังก์ชันและความสามารถระดับพื้นฐานก็ให้มาแบบครบ ๆ ถือว่าเหมาะมากกับการใช้งานระดับเบื้องต้นสำหรับระบบ NAS ในราคาคุ้มค่าสุด ๆ
รีวิวจากผู้ใช้
“ใช้งานได้ดี ซื้อใช้สองตัวแล้ว”
Nas อีกหนึ่งแบรนด์ที่มาตรฐานที่เชื่อมั่นได้ในระดับสากล อย่างแบรนด์ Qnap โดยรุ่นนี้จะออกแบบมาเพื่อการใช้งานระดับองค์กรหรือมืออาชีพ ซึ่งสามารถรองรับ Hard Disk Drive ถึง 4 ตัว ด้านสเปคให้หน่วยประมวลผล ARM 4-core Cortex-A55 กับแรมที่ความจุ 4 GB ช่องเชื่อมต่อที่ให้มาก็ครบครันทั้ง Gigabit Ethernet 2 ช่อง USB 3 ช่อง พร้อมปุ่มสำหรับการสั่งคัดลอกไฟล์ที่เชื่อมต่อผ่านช่อง USB อัตโนมัติ ตัวเครื่องยังมาพร้อมพัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่และโดดเด่นด้วยตัวเครื่องสีขาวสะดุดตา ด้านฟังก์ชัน ความสามารถและระบบปฏิบัติการก็ครบครัน เชื่อมั่นได้เลย
รีวิวจากผู้ใช้
“ยังไม่มีรีวิว”
มาดูกันที่ NAS ตัวเริ่มต้นราคาคุ้มค่ารุ่นยอดนิยมจากแบรนด์ NAS QNAP กันบ้างโดยรุ่นนี้สามารถรองรับการเชื่อมต่อ Hard Disk Drive ได้ถึง 2 ตัวพร้อม ช่องเชื่อมต่ออย่าง USB-A ถึง 3 ช่องและช่องเชื่อมต่อ LAN ระดับ Gigabit ซึ่งตัวเครื่องจะมาพร้อมกับแรมขนาด 2 GB และหน่วยประมวลผล Realtek RTD1296 quad-core นอกจากนั้น QNAP TS-230 ยังมาพร้อมระบบการจัดการข้อมูล ฟังก์ชันต่าง ๆ และระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายและลื่นไหล่ ช่วยให้การจัดการข้อมูลนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น
รีวิวจากผู้ใช้
“จัดส่งรวดเร็ว แพ็คของมาดีมาก ตัว Nas ใช้งานง่ายมากครับ ตั้งค่าไม่กี่ขั้นตอน สามารถทำ Raid ได้ มีแอปให้ทั้ง Android และ IOS แถมยังมี Cloud ในตัวด้วย สำหรับแชร์ไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต คุ้มมากกับราคานี้”
NAS คืออะไร
NAS หรือ Network Attached Storage คือระบบการเก็บข้อมูลบนเน็ตเวิร์ค เปรียบเหมือนระบบเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่เก็บเอาไว้ในบ้านหรือในองค์กรของเราได้นั่นเอง หรือก็คือที่เก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอย่างระบบเน็ตเวิร์คภายในหรือระบบอินเทอร์เน็ตภายนอก เหมาะมาก ๆ กับใครที่มีการเรียกใช้ข้อมูลอยู่เป็นประจำหรือออฟฟิศ องค์กรขนาดเล็กที่ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ จากหลากหลายฝ่าย โดยที่ไม่ต้องจ่ายรายเดือน จ่ายครั้งเดียวจบ จะเพิ่มจะลดขนาดก็ง่าย แต่ยังมาพร้อมความปลอดภัย โดยหลักการแล้ว Network Attached Storage จะเป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการสำหรับระบบ NAS โดยเฉพาะต่อเข้ากับอุปกรณ์เก็บข้อมูลอย่าง Hard Drive ตามปริมาณความจุที่ใช้ และเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์คนั่นเอง
วิธีการใช้งาน NAS
เมื่อเลือกซื้อ NAS มาใช้งานแล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับการใช้งาน NAS ไม่แพ้ตัวเครื่องนั้น คือ อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอย่าง Hard Disk Drive หรือ SSD ซึ่งเราจะต้องเลือกซื้อมาใช้งานควบคู่กันด้วย ทั้งนี้ NAS บางรุ่นนั้นจะมาพร้อมกับ Hard Disk Drive ในเครื่องหรือในชุดขายอยู่แล้ว สำหรับการเลือกซื้อก็ต้องคำนึงในเรื่องขนาดความจุที่เราจะใช้ และควรเลือกอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับระบบ NAS โดยเฉพาะ เพราะการใช้งานในระบบ NAS นั้นจะเป็นการเขียนหรืออ่านข้อมูลแบบตลอดเวลาเพราะฉะนั้นอุปกรณ์เก็บข้อมูลเหล่านี้จะออกแบบมาเพื่อการใช้งานแบบ 24/7 เลย และในการเลือกซื้อนั้นจะต้องคำนึ่งในเรื่องของการทำ Raid ด้วยซึ่งจะเป็นการปรับตั้งค่าวิธีการเก็บข้อมูลของ Hard Disk Drive ที่เราประกอบเข้าไปในระบบ NAS เช่น Raid 0 ซึ่งจะเป็นการรวมอุปกรณ์เก็บข้อมูลทั้งหมดให้ทำงานเขียน อ่านหรือเก็บข้อมูลแบบควบคู่หรือเชื่อมต่อกัน หรือ Raid 1 ที่เป็นการ Back Up ข้อมูลไปยัง Hard Disk Drive อีกตัว
หลังจากนั้นเตรียมทั้ง NAS และ Hard Disk Drive ก็สามารถเริ่มใช้งานได้จากการเสียบปลั๊กเปิดเครื่อง และทำการเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์คด้วยสาย Lan หลังจากนั้น ก็เชื่อมต่ออุปกรณ์ของเรากับระบบเน็ตเวิร์คเดียวกันกับเครื่อง NAS ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาย LAN หรือ การเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WIFI หลังจากนั้นก็ทำการเข้า URL ที่แต่ละแบรนด์จะระบุเอาไว้เพื่อเป็นการค้นหาเครื่อง NAS ที่เชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายเดียวกันหลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนการสร้างบัญชีหรือลงทะเบียนเลย และก็สามารถตั้งค่าระบบและการใช้งานตัว NAS ได้เลย
วิธีการซื้อ NAS
แน่นอนว่าการพิจารณาการใช้งานของตนเองนั้นสำคัญมาก ๆ เพื่อให้สามารถเลือก NAS ได้ตรงตามการใช้งานของเรา ไม่ว่าจะเป็นความจุที่เราต้องการซึ่งก็จะมีผลต่อรุ่นของ NAS ที่เราจะเลือกใช้ หรือการทำ Raid ด้วย รวมถึงพิจารณาความสำคัญหรือความจริงจังในการใช้งานระบบ Nas นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนตัว ภายในบ้าน หรือการใช้งานภายในองค์กร ซึ่งก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ตรงความต้องการของเรา หลังจากที่เลือกรุ่น NAS แล้วก็ต้องมาเลือกซื้ออุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอย่าง Hard Disk Drive หรือ SSD ด้วยให้เหมาะกับการใช้งานของเราและก็ควรที่จะเลือกเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำหรับ Nas โดยเฉพาะเพื่อให้รองรับการใช้งานแบบต่อเนื่อง 24/7 เลย
NAS vs Cloud Storage ต่างกันตรงไหน
หลายคนที่กำลังเริ่มทำความรู้จักกับระบบ NAS ก็อาจจะมีการตั้งคำถามว่าแล้วมันต่างกับ Cloud Storage หรือบริการฝากไฟล์ที่มีอยู่ในท้องตลาดอยู่แล้วยังไง สำหรับหลักการใช้งานและการทำงานในเบื้องต้นนั้นก็คล้ายกัน แต่จะต่างกันที่ NAS จะเป็นการนำแหล่งเก็บข้อมูลไว้ที่ตัวเรา เรื่องดูแลรักษาก็จะเป็นหน้าที่ของเรา ไม่มีค่าบริการรายเดือนและเราสามารถที่จะเพิ่มลดขนาดความจุของที่เก็บข้อมูลได้เองตามความสามารถของตัว NAS และกำลังทรัพย์ของเรา อย่างไรก็ตามตัวเครื่องนั้นต้องใช้พลังงานและอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา นอกจากนั้นในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลก็จะอยู่ที่เราว่าเราจะตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลของเราอย่างไรบ้าง การเรียกใช้ข้อมูลก็สามารถทำได้ผ่านการเชื่อมต่อสาย หรือ ดาวน์โหลดผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็ได้
แต่สำหรับ Cloud Storage นั้นก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปเช่น อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลนั้นก็จะติดตั้งและดูแลรักษาโดยผู้ให้บริการ ซึ่งเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าบริการรายเดือนหรือรายปีตลอดระยะเวลาการใช้งานของเราซึ่งถ้ายิ่งใช้ขนาดที่มากก็จะมีค่าบริการที่สูงตามไปด้วย การเพิ่มลดขนาดความจุของที่เก็บข้อมูลก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และมีข้อจำกัดต่าง ๆ เมื่อจะต้องใช้งานไฟล์ต่าง ๆ ก็ต้องทำการดาวน์โหลด-อัปโหลดซึ่งความเร็วในการดาวน์โหลด-อัปโหลดก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่เรานั้นใช้งาน ในเรื่องความปลอดภัยก็คือถ้ามีคนสามารถเข้าใช้บัญชีเราได้หรือผู้ให้บริการไม่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของเราได้ดีพอก็มีโอกาสที่ข้อมูลของเราจะรั่วไหล
บทส่งท้าย
ครบแล้วกับ อุปกรณ์เก็บข้อมูลบนเน็ตเวิร์คอย่าง NAS ทั้ง 10 รุ่นเห็นได้ชัดมา NAS นั้นอาจจะไม่ได้มีตัวเลือกหลากหลายแบรนด์มากนั้น แต่ ๆ ละแบรนด์นั้นก็จะมีตัวเลือก NAS ให้เลือกหลากหลายระดับเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสำหรับมืออาชีพ องค์กรขนาดเล็ก หรือ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปตามบ้านก็มีให้เลือก สำหรับใครที่พิจารณาเลือกซื้อตามงบประมาณก็อย่าลืมพิจารณาราคาอุปกรณ์เก็บข้อมูลด้วยว่าต้องการแค่ไหนไม่งั้นอาจจะเกินงบประมาณได้ นอกจากนั้นสำหรับใครที่ไม่ได้มีการใช้งานที่เก็บข้อมูลในปริมาณที่มากนั้นในบางกรณี การใช้บริการ Cloud Storage ที่มีผู้บริการให้เลือกหลากหลายในท้องตลาดอาจจะคุ้มค่าและสะดวกสบายมากกว่านั่นเอง