Welcome Citizen!

บันทึกตอนนี้เลย แล้วซื้อทีหลัง เราจะแจ้งคุณถ้าราคาลด

Welcome Citizen!

Setup your account or continue reading!

Settings
cover image

แนะนำ 10 กล้องฟิล์ม รุ่นไหนดี มือใหม่ก็ใช้ได้ ถ่ายภาพสวย 2025

กล้องฟิล์มถ่ายรูปสวย ดีไซน์เท่ หวนคืนสู่ความเบสิกกับกล้องสไตล์วินเทจ

ปัจจุบันแค่ถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไปจนถึงการถ่ายรูปจริงจังแบบมืออาชีพ มือถือหรือสมาร์ตโฟนก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานเหล่านั้นได้แล้ว ไม่ต่างจากการใช้กล้องถ่ายรูปดี ๆ สักตัวอย่างกล้องดิจิทัลยี่ห้อดังที่ถูกพัฒนาและผลิตออกมาใหม่ในทุก ๆ ปี แต่ถึงอย่างนั้น กล้องสุดวินเทจอย่างกล้องฟิล์มก็ยังหวนคืนสู่วงการถ่ายภาพอีกครั้งท่ามกลางเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย ด้วยลักษณะเฉพาะที่ทำให้ภาพถ่ายดูมีคุณค่าและความหมายได้มากกว่า ไหนจะรูปลักษณ์ที่ดูเคร่งขรึมคลาสสิก บางแบรนด์ก็ดูสดใสเหมือนของเล่นเด็ก แต่ดันถ่ายภาพได้จริง และที่สำคัญ กล้องฟิล์มส่วนใหญ่จะไม่สามารถดูภาพหลังกดชัตเตอร์ไปแล้วได้ แถมยังต้องใช้ระยะเวลาในการล้างรูป นี่จึงเป็นความน่าตื่นเต้นที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับความทรงจำ เพราะระหว่างที่รอ เราต้องมาลุ้นว่าภาพที่ถ่ายไปแล้วจะออกมาเป็นแบบไหนกันแน่ ดังนั้น วันนี้เราจะมาแนะนำกล้องฟิล์มกัน จะแบบใช้แล้วทิ้งหรือกล้องฟิล์มสำหรับมือใหม่ก็มีครบ


บรรณาธิการ

Puifaii chevron_right

...

แนะนำ 10 กล้องฟิล์ม รุ่นไหนดี มือใหม่ก็ใช้ได้ ถ่ายภาพสวย

กล้องฟิล์มสีหวานพาสเทล ดีไซน์น่ารัก เปลี่ยนฟิล์มได้ มาพร้อมแฟลชในตัว
กล้องฟิล์ม Pico รุ่น Pico Multi-Use สีม่วง/ ดำ/ พีช/ เขียวมิ้นต์/ ขาว
Pico
กล้องฟิล์ม Pico รุ่น Pico Multi-Use สีม่วง/ ดำ/ พีช/ เขียวมิ้นต์/ ขาว-review-thailand
จาก
1,990บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Pico รุ่น Pico Multi-Use สีม่วง/ ดำ/ พีช/ เขียวมิ้นต์/ ขาว ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
remove_circle วัสดุไม่แข็งแรงมาก ง่ายต่อการเสียหายหากหล่นกระแทกอย่างรุนแรง

ใครจะเชื่อว่าแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำอย่าง Pomelo ก็มีกล้องฟิล์มวางขายบนเว็บไซต์ด้วย ลงตัวสุด ๆ กับหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่ต้องการกล้องฟิล์มสีหวานไว้ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นความทรงจำ โดยเจ้ากล้องตัวนี้มีบอดี้ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล น้ำหนักจึงเบา มีขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก นอกจากนี้ก็ยังเป็นแบบ Multi use สามารถเปลี่ยนฟิล์มใช้งานได้หลายครั้ง โดยมีระยะโฟกัสเริ่มต้นที่ 1.2 เมตร และมีระยะแฟลช 1-3 เมตร

รีวิวจากผู้ใช้จริง: -

ปลุกความเป็นนัก DIY ด้วยกล้องฟิล์มสุดเก๋ที่คุณต้องประกอบเองทุกชิ้นส่วน
กล้องฟิล์ม Lomography Konstruktor F
กล้องฟิล์ม Lomography Konstruktor F-review-thailand
จาก
1,790บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Lomography Konstruktor F ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle มีโหมดถ่ายภาพ 2 โหมด
remove_circle เป็นแบบ DIY ต้องประกอบเอง

ถ้าคุณหลงเสน่ห์กล้องฟิล์มเข้าแล้วละก็ ลองมาเป็นนักประดิษฐ์กล้องฟิล์มซะเองเลย กับกล้องฟิล์ม Lomo Konstruktor SLR DIY ขนาด 35 มม. พร้อมแฟลช นอกจากจะถ่ายภาพได้จริง ยังช่วยให้คุณได้เรียนรู้ส่วนประกอบต่าง ๆ และการทำงานของกล้องฟิล์ม SLR อีกด้วย ใครที่ชอบการประกอบชิ้นส่วน กล้องตัวนี้ก็ตอบโจทย์มาก ๆ ทีเดียว

รีวิวจากผู้ใช้จริง: -

เก็บบรรยากาศในวันวานด้วยกล้องใช้แล้วทิ้งที่ยังใช้ได้ใหม่เรื่อย ๆ ไม่มีพัง
กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์มสี Negative 400
กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์มสี Negative 400-review-thailand
จาก
990บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์มสี Negative 400 ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
remove_circle วัสดุไม่แข็งแรงมาก ง่ายต่อการเสียหายหากหล่นกระแทกอย่างรุนแรง

กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้งมักจะใช้ได้ครั้งเดียวแล้วต้องทิ้งเลย เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้แค่ครั้งเดียวจริง ๆ เพื่อเน้นประหยัดงบ แต่ไม่ใช่กับกล้องฟิล์ม Lomo เพราะสามารถเปลี่ยนฟิล์มได้เรื่อย ๆ เมื่อฟิล์มหมด สีสันสดใส ถ่ายสนุก แม้จะใช้ง่ายสไตล์ Simple use แต่ก็ช่วยดึงบรรยกาศในยุค 80s ให้กลับมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะปาร์ตี้ ปิกนิก หรือถ่ายรูปในงานแต่งงานก็เอาอยู่

รีวิวจากผู้ใช้จริง: 

"คุณภาพสินค้าดีมาก ความคุ้มค่าดีมาก ความรวดเร็วในการจัดส่งดีมาก การให้บริการจากบริษัทขนส่งดีมาก ห่อของมาเรียบร้อยดีไม่มีเสียหาย"

เพิ่มเสน่ห์ให้ภาพถ่ายดูมีมิติด้วยกล้อง Simple use ราคาประหยัด เน้นภาพขาวดำ
กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์มขาวดำ
กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์มขาวดำ-review-thailand
จาก
690บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์มขาวดำ ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
remove_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย

สร้างเอกลักษณ์และความต่างให้กับการบันทึกเรื่องราวผ่านภาพถ่าย ด้วยกล้องฟิล์ม Lomo รุ่นฟิล์มขาวดำ ที่ครอบคลุมในการไล่โทนสีขาวดำแบบ monochrome โดยมาพร้อมกับฟิล์ม Lomography Lady Grey B&W ISO 400 มีค่า ISO ระดับปานกลาง ให้เกรนละเอียดซึ่งเป็นเสน่ห์ของการถ่ายกล้องฟิล์ม และแน่นอนว่าใช้งานง่ายเหมือนเดิม พกพาสะดวก ทั้งยังสามารถเติมฟิล์มได้อีกหลายครั้งโดยไม่ต้องกลัวว่าจะต้องใช้แล้วทิ้งเลย

รีวิวจากผู้ใช้จริง: -

สร้างคอนทราสต์จัดเต็มทุกอารมณ์ภาพ ด้วยกล้องฟิล์มที่มาพร้อมเอฟเฟกต์พิเศษ
กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์ม LomoChrome Metropolis
กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์ม LomoChrome Metropolis-review-thailand
จาก
890บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Lomography Simple Use รุ่นฟิล์ม LomoChrome Metropolis ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
remove_circle วัสดุไม่แข็งแรงมาก ง่ายต่อการเสียหายหากหล่นกระแทกอย่างรุนแรง

กล้องฟิล์ม Lomo Simple Use ตัวนี้ มีความพิเศษกว่าตัวอื่นด้วยฟิล์ม LomoChrome Metropolis ISO 100-400 ซึ่งถูกพัฒนามาจากสูตรเคมีที่มีเอกลักษณ์โดยโรงงานผลิตฟิล์มของ Lomography โดยเฉพาะ ภาพถ่ายจึงมีโทนสีที่ไม่ฉูดฉาดมาก แต่มีคอนทราสต์สูง สร้างความแตกต่างให้ภาพดูมีมิติของแสง ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายบุคคลหรือภาพถ่ายแนวสตรีท

รีวิวจากผู้ใช้จริง: -

กล้องฟิล์มสุดมินิมอลสีสันเอิร์ธโทนที่ช่วยประหยัดฟิล์มได้มากกว่า 2 เท่า
กล้องฟิล์ม Kodak Ektar H35 Half Frame Film สีดำ/ น้ำตาล
Kodak
กล้องฟิล์ม Kodak Ektar H35 Half Frame Film สีดำ/ น้ำตาล-review-thailand
จาก
1,890บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Kodak Ektar H35 Half Frame Film สีดำ/ น้ำตาล ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
remove_circle วัสดุไม่แข็งแรงมาก ง่ายต่อการเสียหายหากหล่นกระแทกอย่างรุนแรง

กล้องฟิล์ม KODAK แบรนด์กล้องดั้งเดิมที่ทุกคนต้องคุ้นเคย ในรุ่น EKTAR H35 Half Frame นี้เป็นรุ่นที่สามารถถ่ายภาพได้มากเป็นสองเท่าต่อม้วน จึงช่วยประหยัดฟิล์มไปได้มาก เหมาะกับคนที่อยากถ่ายภาพได้เยอะ ๆ และไม่อยากเปลี่ยนฟิล์มบ่อย นอกจากนี้ก็ยังมีแฟลชในตัว พร้อมถ่ายภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน หรือจะกลางแจ้งและในร่มก็ถ่ายได้สบาย ๆ 

รีวิวจากผู้ใช้จริง: 

"กล้องสีสวยมาก สีนี้หายาก ราคาดีมากร้านจัดส่งไวเลย ประทับใจ ไว้จะกลับมาอุดหนุนอีกนะคะ"

จะปาร์ตี้ริมสระหรือเดินเล่นแถวชายหาดก็เก็บภาพสวย ๆ ได้ด้วยกล้องฟิล์มกันน้ำ
กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง Fujifilm Quicksnap 800 Waterproof 35mm 27 Exposures
Fujifilm
กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง Fujifilm Quicksnap 800 Waterproof 35mm 27 Exposures-review-thailand
จาก
375บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง Fujifilm Quicksnap 800 Waterproof 35mm 27 Exposures ด้านล่าง:
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
add_circle กันน้ำ สามารถถ่ายภาพใต้น้ำได้
remove_circle ใช้ได้แค่ครั้งเดียว
remove_circle วัสดุไม่แข็งแรงมาก ง่ายต่อการเสียหายหากหล่นกระแทกอย่างรุนแรง

กล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้ง จาก Fujifilm กล้องฟิล์มราคาประหยัดที่มีดีมากกว่าแค่ราคาถูก เพราะมันเป็นกล้องฟิล์มที่สามารถถ่ายภาพใต้น้ำได้ลึกถึง 10 เมตร และถ่ายได้สูงสุด 27 รูป โดยมาพร้อมกับ ISO 800 จึงเพียงพอต่อแสงใต้น้ำ ใช้งานได้แบบไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้ากล้อง แต่ด้วยฟิล์มที่อาจหมดอายุไปแล้วเนื่องจากเกินอายุการใช้งาน สีภาพที่ได้ก็จะเฟดหรือดรอปลงมาเล็กน้อย ถือว่าเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับภาพถ่ายไปอีกแบบ 

รีวิวจากผู้ใช้จริง: -

กล้องฟิล์มรุ่นวินเทจยุค 80 จากค่ายดังที่มาพร้อมเลนส์คุณภาพ หน้าชัดหลังเบลอ
กล้องฟิล์ม Olympus 35 DC
Olympus
กล้องฟิล์ม Olympus 35 DC-review-thailand
จาก
3,980บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Olympus 35 DC ด้านล่าง:
add_circle ตัวกล้องแข็งแรง ดีไซน์สวย
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
remove_circle หาอะไหล่ค่อนข้างยาก
remove_circle มีขายแค่มือสองเท่านั้น สินค้ามีจำนวนจำกัด

Olympus 35DC เป็นกล้องฟิล์ม RF ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างหายากแล้ว เพราะเป็นรุ่นที่ผลิตในปี ค.ศ. 1971 แต่ถึงจะผลิตมานานมากแล้วก็ยังมีสภาพที่ดีและใช้งานได้เป็นปกติ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยดีไซน์แบบคลาสสิกวินเทจตามแบบฉบับกล้องฟิล์ม Olympus จึงกลายเป็นรุ่นที่ใคร ๆ ต่างก็ตามหา แม้อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องการหาอะไหล่ แต่ก็ไม่กระทบสายกล้องฟิล์มอยู่แล้ว เพราะแค่ได้เลนส์ Olympus F.Zuiko 40mm F1.7 ที่มาพร้อมตัวกล้องก็ถือว่าสุดยอดแล้ว ด้วยคุณสมบัติที่ถ่ายหน้าชัดหลังเบลอ ได้พื้นหลังละลายโบเก้สวย ๆ นั่นเอง

รีวิวจากผู้ใช้จริง: 

"ชอบมากก สภาพดีมากก ส่งของเร็วมาก ไวกว่าแสงวันเดียวถึง แพ็คของมาดีมากๆๆๆ ตัวกล้องแทบไม่มีรอยใดๆเลย เจ้าของร้านตอบแชทไว โดยรวมชอบๆ"

สายสะสมห้ามพลาด กับกล้องฟิล์มระบบโฟกัส rangefinder ดีไซน์เท่จากญี่ปุ่น
กล้องฟิล์ม Minolta HI-MATIC F BLACK
Minolta
กล้องฟิล์ม Minolta HI-MATIC F BLACK-review-thailand
จาก
5,490บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Minolta HI-MATIC F BLACK ด้านล่าง:
add_circle ตัวกล้องแข็งแรง ดีไซน์สวย
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย
add_circle มีระบบโฟกัส rangefinder ที่เร็วและเที่ยงตรง
remove_circle มีขายแค่มือสองเท่านั้น สินค้ามีจำนวนจำกัด

ใครที่รักกล้องฟิล์มจะรู้กันดีว่า Minolta เป็นแบรนด์ที่คนจะตามหากันอยู่เสมอ เพราะด้วยดีไซน์วินเทจมาดคุณชายสุดเนี้ยบที่ไม่ว่าจะถูกตั้งวางตรงไหนก็คลาสสิกดูเท่ไปซะหมด แม้ไม่ได้ใช้งานก็ยังเก็บสะสมเพิ่มมูลค่าไปได้เรื่อย ๆ โดยตัวนี้เป็นกล้องฟิล์ม RF ยุค 70 ชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เลนส์เป็นระยะที่เหมาะกับการถ่ายสตรีทมาก ใครสายสตรีทก็ยิ่งไม่ควรพลาด

รีวิวจากผู้ใช้จริง: -

กลายเป็นคนฮิป ๆ เก๋ ๆ ขึ้นมาทันทีเพียงแค่พกกล้องฟิล์มแนววินเทจเรโทรตัวนี้
กล้องฟิล์ม Kodak ULTRA F9 สีเขียว/ เหลือง
Kodak
กล้องฟิล์ม Kodak ULTRA F9 สีเขียว/ เหลือง-review-thailand
จาก
1,390บาท
เช็คราคา กล้องฟิล์ม Kodak ULTRA F9 สีเขียว/ เหลือง ด้านล่าง:
add_circle Multi use ใช้งานได้หลายครั้ง
add_circle ขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้งานง่าย

กล้องฟิล์ม Kodak ULTRA F9 ถือเป็นกล้องฟิล์มที่มือใหม่ใช้ได้ง่าย ๆ ด้วยสไตล์แบบ point & shoot สีสันของบอดี้มาแนวเรโทรหน่อย ๆ ไม่ว่าจะพกไปถ่ายรูปหรือวางเป็นพร็อปก็ดูดีทุกมุมมองด้วยรูปลักษณ์ที่คลาสสิกวินเทจแบบ Kodak จริง ๆ นอกจากนี้ยังมาพร้อมแฟลช และสามารถเปลี่ยนฟิล์มใช้ได้อีกหลายรอบ ถ้าอยากลองใช้กล้องฟิล์มดูสักครั้ง กล้องฟิล์ม Kodak ตัวนี้ถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการเริ่มต้นเข้าสู่วงการกล้องฟิล์มเพราะใช้ง่ายและพกพาสะดวกสุด ๆ

รีวิวจากผู้ใช้จริง: 

"ส่งเร็วมากครับ ได้รับเร็วมากด้วย ร้านแถมถ่านมาให้ด้วย ประทับใจมากครับ สินค้าแท้ คุณภาพดี แพ็คเกจมีบุบบ้างแต่คิดว่าไม่น่าจะเป็นจากร้าน และจัดส่งในไทยครับ"


ประวัติกล้องฟิล์ม

แรกเริ่มเดิมที แนวคิดของการถ่ายภาพอาจมีมาก่อนเริ่มต้นนับคริสต์ศักราช แต่ก็เริ่มมีการบันทึกหลักฐานจริงจังในปี ค.ศ.1000 ว่ามีการประดิษฐ์กล้องรูเข็มขึ้นโดย อิบน์ อัล-ฮัยษัม (Ibn al-Haytham) หรือ อัลฮะเซน (Alhazen) นักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์ชาวอาหรับ โดยลักษณะการทำงานจะเป็นกล้องทาบเงาที่สะท้อนภาพลงบนพื้นผิววัตถุเท่านั้น และยังเป็นภาพแบบกลับหัว กระทั่งโยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์กระโจมกล้องรูเข็มสำเร็จใน ค.ศ.1620 เพื่อฉายภาพลงมาที่กระดานวาดภาพ และตั้งชื่อกระโจมนี้ว่า Camera Obscura จากนั้นใน ค.ศ.1685 โยฮัน ซาห์น (Johann Zahn) ได้ออกแบบกล้องออบสคิวราให้มีขนาดเล็กลง มีกระบอกเลนส์ด้านหน้าและกระจกสะท้อนแสง 45 องศา 

ในที่สุดก็ได้ภาพถ่ายใบแรกของโลกในปี ค.ศ. 1814 โดย โจเซฟ นีเซฟอร์ เนียปส์ (Joseph Nicéphore Niépce) ชาวฝรั่งเศส เขาได้ใช้แผ่นโลหะพิวเตอร์ (ดีบุกผสม) ฉาบยางมะตอยธรรมชาติ และติดตั้งในกล้องออบสคิวรา และเปิดกล้องให้แสงผ่านนานถึง 8 ชั่วโมงก่อนนำไปล้างด้วยน้ำมันจากดอกไม้ ทำให้ได้ภาพโพซิทิฟ (Positive) ภาพขาวดำ และสามารถคงสภาพของภาพถ่ายได้เป็นครั้งแรกของโลก โดยเขาได้ตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่าเฮลิโอกราฟี (Heliography) นับแต่นั้นเรื่อยมาก็ถูกพัฒนาและทดลองโดยการใช้สารเคมีต่าง ๆ ด้วยศิลปินและนักฟิสิกส์มากมาย จากนั้นในปี ค.ศ. 1840 โจเซฟ เพ็ตซ์วาล (Joseph Petzval) นักประดิษฐ์กล้องชาวฮังการีก็ได้ประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพสำหรับพอร์เทรตโดยใช้เลนส์ 4 ชิ้นประกอบเข้าด้วยกันเพื่อลดความผิดเพี้ยนของภาพจากเลนส์แบบเดิม และก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 1 ศตวรรษ 

และก็มาถึงจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปเป็นร่างของกล้องฟิล์ม นั่นก็คือในปี ค.ศ. 1888 จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) ชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์กล้องโกดัก (Kodak) เขาทำให้กล้องใช้งานได้ง่ายขึ้น มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบามากขึ้น และยังมีการประดิษฐ์ฟิล์มถ่ายภาพแบบม้วนออกวางจำหน่ายพร้อมกัน กล้องถ่ายภาพ โกดักรุ่นแรกจึงมีการบรรจุฟิล์มเซลลูลอยด์เอาไว้ เมื่อผู้ใช้ถ่ายภาพจนหมดม้วนแล้วก็นำมาส่งให้ทางโกดักจัดการต่อ นี่จึงเหมือนเป็นจุดสตาร์ตของกล้องฟิล์มที่มีประวัติศาสตร์ในการพัฒนามาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน


วิธีเลือกกล้องฟิล์ม

วิธีในการเลือกกล้องฟิล์มก็จะเน้นเลือกจากประเภทของกล้องฟิล์มเป็นหลัก ซึ่งข้อนี้ก็จะเชื่อมโยงกับการใช้งานของเรา เราต้องรู้ก่อนว่าจุดประสงค์การใช้งานของเราคืออะไร และเราต้องการให้ภาพถ่ายออกมาเป็นลักษณะแบบไหน จากนั้นก็ค่อย ๆ มาไล่ดูไปพร้อม ๆ กันว่าแต่ละประเภทของกล้องฟิล์มทำงานและใช้งานยังไงได้บ้าง จึงค่อยไปเลือกซื้อตามแบรนด์และประเภทที่เราต้องการใช้งานจริง ๆ 

ประเภทของกล้องฟิล์มจะถูกแบ่งออกเป็น

  • กล้องฟิล์ม SLR (Single Lens Reflex Camera) ภาพที่เรามองใน Viewfinder จะเป็นภาพเดียวกับที่เลนส์กล้อง โดยจะโฟกัสภาพผ่านตัวเลนส์ได้เลย
  • กล้องฟิล์ม Rangefinder ระยะ 35mm ภาพจากเลนส์จะวิ่งเข้าสู่ฟิล์มโดยตรง การมองภาพต้องมองผ่านช่อง Viewfinder และการใช้งานจะต้องกะระยะเวลาในการถ่าย 
  • กล้องฟิล์ม Half Frame ระยะ 35mm เช่น กล้อง Lomo หรือกล้อง Toy ถ่ายได้ 72 เฟรม พร้อมแบ่งครึ่งแต่ละเฟรมเป็น 2 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดฟิล์ม
  • กล้องฟิล์ม Compact เป็นระบบ Auto ทั้งหมด ใช้ฟิล์มขนาด 120 ถ่ายได้ 12 รูป 
  • กล้องฟิล์ม Twin Lens Reflex ตัวนี้มีดีไซน์ที่คลาสสิกสุด ๆ ดูวินเทจหรูหรา และบางคนอาจจะเคยเห็นดาราศิลปินหันมาเล่นกล้องตัวนี้กันค่อนข้างเยอะ ด้วยวิธีการใช้งานที่ดู manual ด้วยดีไซน์ที่แตกต่าง และต้องมองผ่าน Viewfinder จากด้านบนกล้อง

Tips : แนะนำว่าสำหรับใครที่กำลังมองหากล้องฟิล์มมือใหม่จริง ๆ ให้ลองใช้กล้อง Toy หรือกล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้งดูก่อน เพราะจะประหยัดงบมาก ๆ แถมยังได้ลองใช้กล้องฟิล์มขนาดย่อมเผื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจว่าถ้าชอบภาพถ่ายสไตล์นี้ จะขยับไปเล่นกล้องฟิล์มที่ราคาสูงขึ้นดีรึเปล่า แต่ถ้าใครใช้กล้องฟิล์มแบบใช้แล้วทิ้งแล้วเกิดเสียดาย ก็ไม่ต้องกังวลไป มันมีกล้องใช้แล้วทิ้งแบบที่ไม่ต้องทิ้งจริง ๆ ก็มี เช่นแบรนด์ Lomo เรียกได้ว่า ทิ้งแต่เก็บ ใช้ไปแล้วครั้งหนึ่งก็ยังเติมฟิล์มกลับมาใช้ใหม่ได้นั่นเอง


บทส่งท้าย

ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปยาวนานกี่ยุคกี่สมัย กล้องฟิล์มยังคงเป็นกล้องที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ แม้จะหายไปอยู่ช่วงหนึ่งในยุคที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล แต่เทคโนโลยีที่ก้าวนำเราไปก็ไม่อาจโค่นล้มสิ่งที่คลาสสิกเหนือกาลเวลาอย่างกล้องฟิล์มได้ เพราะกว่าจะออกมาเป็นภาพถ่ายแต่ละภาพล้วนต้องอาศัยความชำนาญ และต้องผ่านการตั้งค่ากล้องแบบ Manual อย่างพิถีพิถันทั้งสิ้น ปัจจุบันตัวกล้องฟิล์มก็ถูกพัฒนามาด้วยเช่นกัน ดังนั้นความแอนะล็อกที่ดูยุ่งยากเกินไปก็อาจจะไม่หนักเท่ารุ่นสมัยอดีตอีกแล้ว จึงใช้ง่ายขึ้น ตั้งค่าง่ายขึ้น ปรับการตั้งค่าแสงได้ดีขึ้น และบางรุ่นยังมาพร้อมฟิลเตอร์สีปิดเลนส์ให้เลือกใช้ด้วย สำหรับใครที่ยังค้นหาว่าจะเลือกกล้องฟิล์มยี่ห้อไหน หรือกล้องฟิล์มแบบไหนดี ก็หวังว่าบทความรีวิวนี้จะช่วยให้คุณได้กล้องฟิล์มเป็นกล้องตัวโปรดตัวใหม่ประจำทริปนะคะ มาบันทึกความทรงจำด้วยวิธีแบบ Back to basic กัน 

บทความแนะนำ

สิ้นสุดบทความ