การฟังเพลงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในเชิงจิตวิทยาบอกว่าเป็นการทำให้สมองได้ผ่อนคลาย และถ้ายิ่งได้ฟังเสียงที่มีความชัดและเคลียร์มาก ๆ ไม่มีแอมเมบียนส์มาแทรกก็จะยิ่งทำให้สมองและเกิดจินตนาการด้านดีที่มากยิ่งขึ้น ดังนั้นนอกจากการรังสรรค์เสียงดนตรีที่ฟังแล้ว อุุปกรณ์ฟังเพลงอย่างเครื่องเล่นแผ่นเสียงก็เป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกันค่ะ
บรรณาธิการ
Table of Contents
10 เครื่องเล่นแผ่นเสียง ยี่ห้อไหนดี เสียงดัง ฟังชัด ลื่นหู เหมือนมีดนตรีสดมาเล่นอยู่ข้างหน้าปี 2025
รุ่นนี้สามารถเชื่อมต่อกับลำโพง หรือหูฟัง Bluetooth แบบไร้สายได้ (Wireless Streaming) มีแบตเตอรรี่ในตัวซึ่งนั่นหมายความว่าสามารถพาน้อง Gadhouse Brad Retro Edition ของเราไปเฉิดฉายข้างนอกได้แล้ว!
ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของเจ้าเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นนี้จะมาพร้อมกับสปีดการเล่นถึง 3 ระดับ ตั้งแต่ 33⅓, 45 และ 78 รอบ/นาที นั่นทำให้สามารถเปิดเล่นกับแผ่นเสียงครอบคลุมได้ทุกขนาด ทั้ง 7”, 10” หรือ 12” ในส่วนของ Wireless Streaming ก็ทำให้ประสบการณ์การฟังแผ่นเสียงดีกว่าเดิม ผสมกับความทันสมัยของโลกดิจิตอลที่สามารถเชื่อมต่อกับลำโพงหรือหูฟัง Bluetooth ได้ในระยะ 5-7 เมตร และใช้งานได้ทุกที่ตามต้องการเพราะมี Chargeable & Portable ฟังก์ชั่นใหม่แบตเตอรี่ (ในตัว) ความจุ 2,000 มิลลิแอมป์ ใช้ได้สูงสุด 4 ชั่วโมง/ชาร์จหนึ่งครั้ง
ระบบการขับเคลื่อนสายพานของเครื่องเล่นแผ่นเสียง gadhouse รุ่นนี้เป็นแบบ Belt-Driven Turntable Mechanism หัวเข็มแบบ Ruby Stylus ที่ช่วยให้เสียงเพิ่มอารมณ์ในแบบของการฟังไวนิลที่มากขึ้น
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ของไม่มีความเสียหายเลย จัดส่งเร็วมาก ๆ คือได้จองเร็วมากจริง ๆ ค่ะ เสียงดีใช้ได้ ใช้งานง่ายสำหรับมือใหม่ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากค่ะ สีสวยน่ารัก ถูกใจ
มากันที่เครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นต่อมาอย่าง Victrola Journey+ ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสมกับการพกพามากขึ้นกว่าเดิม เพราะว่าพวกเขาได้ทำเครื่องเสียงให้อยู่ในรูปแบบของกระเป๋านั่นเอง รวมถึงยังมีฟีเจอร์อย่างการสตรีมเสียงที่เรียกว่า Vinyl Stream ที่ส่งเพลงต่อออกลำโพงอื่นได้ผ่านบลูทูธ นอกจากนี้ยังปรับความเร็วของการเล่นได้ถึงสามระดับ หรือจะเสียบใส่หูฟัง 3.5 แบบปกติก็ทำได้เช่นกัน แม้จะปรับเสียงของเครื่องเล่นไม่ได้ก็ตาม
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ชอบมากๆ ค่ะ สีสวย วัสดุแข็งแรงดี ใช้งานง่าย มีลำโพง ในตัว เชื่อมต่อบลูทูธได้ด้วย
เครื่องเล่นแผ่นเสียง denon รุ่น DP-450USB ขอยกความดีความชอบให้ในเรื่องความสามารถในการแปลงสัญญาณเสียงจากแผ่นเสียงให้เป็นไฟล์ดิจิตัลเลยค่ะ ซึ่งคุณสมบัติของเครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนี้ใช้โทนอาร์มแบบ S-Shape หัวเข็มแบบ MM และสามารถถอดสายไฟ AC และสายสัญญาณออกได้ อีกทั้งยังใส่ภาคขยายสัญญาณเสียงจากหัวเข็มมาให้ในตัวเครื่อง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครื่องเสียงได้โดยตรงอีกด้วย ยังไม่หมดค่ะเพราะยังมีฝาครอบกันฝุ่นติดมาให้ทั้ง 2 รุ่น สามารถถอดฝาปิดออกและนำไปใช้วางปกแผ่นเสียงได้ด้วย สมคำล่ำลือสุด ๆ มีโหมด Automatic speed sensor ที่สามารถเลือกความเร็วสำหรับไวนิลได้ที่ 33⅓, 45 และ 78 รอบ/นาที และยังมีฟังก์ชั่นที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักเล่นแผ่นเสียงรุ่นใหม่ อย่างระบบยกโทนอาร์มกลับไปยังแทนวางโทนอาร์มโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่าเล่นเพลงจนหมดแผ่น
รีวิวจากผู้ใช้จริง: คุณภาพดีครับ
ต้องบอกว่าเครื่องเล่นแผ่นเสียง Gadhouse ในรุ่น Cosmo เป็นอีกหนึ่งตัวที่ออกแบบมาให้ดูทันสมัยกว่าเดิม รวมถึงยังมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่เหมาะกับสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกล่องที่ดูใสและเป็นสัญลักษณ์ของยุค 2000 ได้ดีเลยทีเดียว เพราะสามารถเปิดฝาได้เหมือนกับคอนโซลเกมสมัยก่อนนั่นเอง นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อได้แบบบลูทูธหรือต่อสาย AUX 3.5 เช่นเดียวกับการปรับความเร็วของการเล่นได้สองระดับด้วยกัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ตามราคาครับ นึกว่าเสียงลำโพงจะดีกว่านี้
สำหรับเครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวนี้ก็เป็นของ Audio Technica ในรุ่น AT-LP60XBT ที่เรียกว่าเป็นเครื่องที่ได้รับการอัพเกรดให้เหมาะกับยุคปัจจุบันมากกว่าเดิม เพราะสามารถเชื่อมต่อผ่านบลูทูธได้ด้วยชิพแปลงสัญญาณเสียงจาก Qualcomm แบรนด์ดังจากไต้หวันนั่นเอง แม้ว่าตัวเครื่องจะยังรักษาความเป็นอนาล็อกอย่างมากและเชื่อมต่อสายได้ผ่านเคเบิ้ล RCA เป็นหลัก แต่เครื่องนี้ยังสามารถปรับระดับความเร็วได้แบบ 33 ⅓ และ 45 รอบต่อนาทีได้เช่นกัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ลองเล่นแล้วเสียงได้ตามคุณภาพ ถือว่าคุ้มราคา
อีกหนึ่งเครื่องเล่นแผ่นเสียงจาก Audi Technica ซึ่งคราวนี้เป็นรุ่น AT-LP120XUSB และไม่ได้มีดีแค่ความคลาสสิคเท่านั้น เพราะตัวเครื่องได้ออกแบบให้มีพรีแอมพลิฟายเออร์โฟโนข้างในที่สามารถปรับได้ รวมถึงปรับความเร็วได้ถึง 3 ระดับและยังใช้งานร่วมกับโปรแกรมอย่าง Audacity ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังใช้พอร์ทได้ทั้งแบบ USB และ RCA ได้ตามความสะดวกของผู้ใช้เลยทีเดียว
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ได้ 5 ดาว
นี่คงเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกตัวที่ไม่ธรรมดาของ Victrola Classic เพราะพวกเขาได้ใส่ฟีเจอร์ต่าง ๆ มาถึง 7 ตัวในเครื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็นการปรับระดับความเร็วของเสียงได้ถึง 3 ระดับ ตามด้วยการเล่นแผ่น CD วิทยุไปจนถึงเทปที่ยิ่งกว่าคลาสสิคอีกด้วย นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อแบบบลูทูธและสาย AUX ปกติ อีกทั้งยังสามารถบันทึกเพลงจากไวนิลมาลงเป็น MP3 ได้เพื่อใช้ในการฟังกับอุปกรณ์อื่นได้เช่นกัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ได้ 5 ดาว
เครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวต่อไปคือ Gadhouse Mathis Turntable ซึ่งถือเป็นเครื่องเล่นอีกตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในระดับสูงและยังสามารถเล่นเพลงออกมาในเสียงรูปแบบ Futuristic อีกด้วย โดยตัวเครื่องมีการใช้ Bluetooth ที่สามารถปล่อยเพลงเข้าลำโพงอีกตัวได้ ส่วนการออกแบบของพวกเขายังใช้วัสดุที่ดูเข้ากับสมัยใหม่มากขึ้น เน้นโทนสีเข้มที่ไม่ย้อนยุคจนเกินไป จนกลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของทั้งเครื่องเล่นแบบเก่ากับการพาทุกคนไปยังโลกแห่งอนาคตได้เลยทีเดียว
รีวิวจากผู้ใช้จริง: งดงามครับ แล้วจะหลงไหลใน แผ่นเสียง ครับ เครื่องนี้งานดีๆจาก gadhouse เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ต่อบลูทูธได้สะดวกมาก ครับ
นี่คือเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกหนึ่งรุ่นจาก Gadhouse ในรุ่นที่ชื่อว่า DEAN ซึ่งไม่ได้มีแค่ความคลาสสิคที่ทุกคนกำลังมองหาสำหรับเครื่องเล่นไวนิลเท่านั้น เพราะรุ่นนี้สามารถจะปรับความเร็วในการเล่นได้แบบ 33 ⅓, 45 และ 78 รวมถึงมีความสามารถในการหยุดและเล่นใหม่ ไปจนถึงการปรับเสียงเบสและเสียงแหลมให้เข้ากับสไตล์ที่ต้องการได้ โดยแผงควบคุมจะอยู่ด้านข้างและยังรองรับการเชื่อมต่อแบบบลูทูธได้เช่นกัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง: ได้ 5 ดาว
เครื่องเล่นแผ่นเสียง Audio Technica รุ่นสูงอย่าง AT-LP7 ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องเล่นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นอีกหนึ่งเครื่องที่เหมาะกับสาย Manual ที่ชอบความคลาสสิคไม่น้อยเลย รวมถึงตัวมอเตอร์ก็มีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ตัวเข็มยังมีฟังก์ชันในการลดการสั่นสะเทือนและเกาะแผ่นเสียงได้ดี ส่วนการปรับความเร็วของการเล่นได้ถึง 2 ระดับ เช่นเดียวกับพอร์ทเคเบิ้ลที่เข้ากับการใช้งานสายอนาล็อคนั่นเอง
รีวิวจากผู้ใช้จริง: -
เครื่องเล่นแผ่นเสียง ประวัติ
จริง ๆ แล้วเครื่องเล่นเสียงถูกคิดค้นขึ้นมาก่อนปี 1857 แล้ว และถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ จนเป็นเครื่องเล่นแบบไขลานที่เรียกว่า แกรมโมโฟน ในปี 1896 ซึ่งทั้งหนัก แข็ง และแตกหักง่าย จึงเกิดมาเป็นวิวัฒนาการของเครื่องเล่นแผ่นเสียงก็คือ เริ่มมีแผ่นเสียงที่มีลักษณะเป็นร่องขนาดเล็กจิ๋ว ในร่องจะมีปุ่มขรุขระเพื่อให้เข็มจากเครื่องเล่นแผ่นวิ่งผ่านในร่องจนเกิดเป็นคลื่นเสียงส่งผ่านลำโพง ซึ่งคุณภาพเสียงแบบนี้ถ้าฟังในสมัยนี้ เสียงจะค่อนข้างทุ้มต่ำ ไร้มิติ ฟังแล้วอุดอู้ แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของยุคนั้น
เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เป็นต้นกำเนิด หรือถูกผลิตขึ้นในปี 1930 ซึ่งเป็นแผ่นเสียงที่ผลิตด้วยพลาสติกไวนิลที่ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย น้ำหนักเบา และกระด้างน้อยกว่าแผ่นที่กำเนิดก่อนหน้า ซึ่งลักษณะของแผ่นไวนิลนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว เล่นด้วยสปีด 33 1/3 RPM โดยบริษัท RCA และหลังจากเป็นต้นมา แผ่นเสียงแบบนี้กลายเป็นตัวทำเงินมากที่สุดในอุตสาหกรรมดนตรี
ประเภทเครื่องเล่นแผ่นเสียง
เทิร์นเทเบิ้ลหรือเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีจำหน่ายแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทคือ
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง ระบบอัตโนมัติ (full automatic) ผู้ใช้แทบไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากการกดปุ่ม play ตัวเครื่องก็จะยกโทนอาร์มออกมาวางเล่นเองที่ร่องเสียงเอง และเมื่อเล่นจนจบร่องเสียงสุดท้ายตัวเครื่องก็จะมีเซ็นเซอร์ยกโทนอาร์มขึ้นมาให้เองด้วยเช่นกัน
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง ระบบกึ่งอัตโนมัติ (semi automatic) จะทำงานคล้ายกับระบบอัตโนมัติ แต่จะมีบางขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำเอง เช่น ยกเข็มมาวางเองในตอนเริ่มเล่นและตอนเก็บ เพราะระบบจะช่วยแค่หยุด และยกเข็มขึ้นเมื่อเล่นจนจบร่องเสียงสุดท้ายเท่านั้น เป็นต้น
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง ระบบอัตโนมือ (manual) เครื่องเล่นแผ่นเสียงประเภทนี้ถึงแม้จะไม่ค่อยความสะดวกสบายในเรื่องของการใช้งานเพราะผู้ใช้งานต้องทำหน้าที่ตั้งเปิดเครื่องให้แพลตเตอร์หมุน เลือกสปีดที่เหมาะสม ยกหัวเข็มไปวาง ยกหัวเข็มขึ้นเอง รวมถึงการนำโทนอาร์มกลับมาวางเข้าที่ ณ จุดพักอาร์มเองทั้งหมด แต่เครื่องเสียงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทที่คุณภาพเสียงดีที่สุดใน 3 ประเภท
วิธีเลือกซื้อ เครื่องเล่นแผ่นเสียง
ด้วยใช้ปัจจุบันมีลำโพงชนิดใหม่ ๆ และฟังก์ชันที่สุดแสนจะทันสมัยจึงทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบคลาสสิกหายากเข้าไปทุกที ๆ ดังนั้นใครที่ยังรักความวินเทจของเครื่องเล่นแผ่นเสียงและคิดที่จะจับจองก็ควรศึกษาวิธีใช้ การเลือกอุปกรณ์หรือฟังก์ชันความต้องการที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดค่ะ เพราะสุดท้ายแล้วเวลาที่ตัดสินใจซื้อก็อยู่ที่ประเภทการใช้งานอยู่ดีค่ะ ไรเตอร์จึงแนะนำว่าพิจารณาตามความเหมาะสม ถ้าเน้นเสียงและสามารถใช้งานได้ง่ายก็ควรเลือกเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีโหมดอัตโนมัติ แต่ถ้าใครที่เป็นสายสะสมอยู่แล้วหรือเป็นมือฉมังอยู่พอตัวก็จะมีทริคเป็นของตัวเองอยู่แล้วใช่ไหมล่ะคะ สามารถเลือกตามความชอบและเครื่องเล่นแผ่นเสียงตัวฮิตเผื่อเกร็งกำไรในอนาคตได้ ก็ยิ่งดีเลยค่ะ
การใช้งาน เครื่องเล่นแผ่นเสียง เบื้องต้น
การใช้งานเบื้องต้น หรือ คู่มือการใช้งานเครื่องเล่นแผ่นเสียง
- กดปุ่ม STANDBY/ON ที่ด้านหลังของตัวเครื่องเพื่อเปิดเครื่อง
- เปิดฝาครอบกันฝุ่นอย่างช้า ๆ ระวังอย่าให้หนีบนิ้ว เช่นampเมื่อเปิดและปิดฝาครอบกันฝุ่น
- วางบันทึกบนจานเสียง (จานเสียง) เมื่อเล่นบันทึกเดี่ยวหลุมใหญ่ 45 รอบต่อนาที ให้ใช้อะแดปเตอร์ที่ให้มา
- เลือกความเร็วในการหมุนที่ระบุไว้ในบันทึก
- เลื่อนตัวล็อกโทนอาร์มไปทางขวาเพื่อปลดโทนอาร์ม
- ใช้คันโยกยกแขนเพื่อยกโทนอาร์ม
- ย้ายโทนอาร์มไปยังแทร็กที่คุณต้องการเริ่มเล่น
- ใช้คันโยกยกแขนเพื่อลดระดับโทนอาร์ม โทนอาร์มจะลดระดับลงอย่างช้า ๆ จนกว่าสไตลัสจะสัมผัสบันทึกและเริ่มเล่น
บทส่งท้าย
จบไปแล้วกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เก่าแต่เก๋า ใครมีติดบ้านรับรองว่า แขกไป ใครมา หรือเพื่อนแวะมาที่บ้านก็ต้องกรี๊ดค่ะ เพราะรูปทรงที่ดูวินเทจแต่เสียงเพลงอันทรงพลัง ที่มาพร้อมกับฟังก์ชันลูกเล่นที่ทันสมัย ใคร ๆ ในที่นี้ก็อยากมีค่ะ นอกจากการฟังเพลงที่ไพเราะแล้ว ด้วยรูปทรงของเครื่องเล่นแผ่นเสียงยังสามารถเป็นของแต่งบ้านได้ด้วย วางไว้มุมไหนก็สวยค่ะ แล้วที่สำคัญในยุคแบบนี้เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบนี้เป็นของแรร์ไอเท็มแล้งค่ะ หาซื้ยากมาก ก็ไรเตอร์ป้ายยาขนาดนี้แล้ว อย่าลืมไปตำกันมาให้ได้นะคะ