บรรณาธิการ
ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าจะซื้อรุ่นไหนดี คุณมาถูกเว็บแล้ว เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1980 ซึ่งเรียกว่าเครื่องพิมพ์แบบ “stereolithography” ซึ่งก็คือเครื่องพิมพ์ 3 มิติในปัจจุบันนั่นแหละ แต่เป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและการค้า นอกจากนี้เครื่องพิมพ์ยังมีราคาแพงมาก (ดูราคาได้ในรูปที่ 6) แต่หลังจากปี 2012 ราคาเครื่องพิมพ์ก็ค่อยๆ ถูกลงเรื่อยๆ
ในวันนี้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (ซึ่งคุณอาจเคยรู้จักจากอินเตอร์เน็ต) ก็ใช้ง่ายมากขึ้นและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงแค่คุณตั้งค่าง่ายๆ ก็สามารถพิมพ์สินค้า Prototype หรือพิมพ์สินค้าจริงๆ ได้เลยในระยะเวลาไม่ถึง 1 วัน (ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของสินค้า)
แล้วเครื่องพิมพ์ 3 มิติทำงานยังไงนะ?
เครื่องพิมพ์มี 2 ประเภท แบบแรกคือ FFM (fused filament manufacturing) และแบบ SLA (stereolithography)
โดยปกติ เครื่องพิมพ์แบบ FFM จะละลายเส้นใยพลาสติก ทำผ่านหัวพิมพ์ที่เคลื่อนไหวได้ จากนั้นจะบรรจุพลาสติกที่ละลายไว้ เป็นทีละชั้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นผลึกก้อนและเป็นตัวสินค้าในที่สุด เส้นใยพลาสติกหลายชนิดจะมีทั้ง ABS และ PLA โดยตอนแรกราคาจะไม่แพง และทนทาน แต่ต่อมาตัวสินค้าจะย่อยสลายได้ยาก เครื่องพิมพ์ยังมีหลายสีอีกด้วย
ในขณะที่ เครื่องพิมพ์แบบ SLA มีข้อจำกัดในเรื่องวัสดุการพิมพ์และสีของเส้นใย เครื่องพิมพ์ก็ได้ใช้ประโยชน์ทั้งแสงอุลตราไวโอเลต หรือเครื่องโปรเจคเตอร์ DLP และตัวสินค้าจริงๆ ที่พิมพ์ออกมา จะแข็งแรงหรือยืดหยุ่นก็ได้
จะหาโมเดล 3 มิติสำหรับนำไปพิมพ์ได้ที่ไหน?
ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจะพิมพ์โมเดล 3 มิติออกมาอย่างไร ไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบันมีโมเดล 3 มิติให้เลือกมาเป็นแบบมากมาย มีทั้งฟรีและเสียเงิน ซึ่งโมเดลที่เราชอบคือเว็บ Thingiverse และ Pinshape
สิ่งที่คุณต้องทำก็มีแค่ อัพโหลดไฟล์ลงในซอฟต์แวร์พิมพ์แบบ 3 มิติ (เครื่องพิมพ์บางรุ่นจะมีซอฟต์แวร์ 3 มิติ ติดมาจากโรงงานเลย) และเลือก จัดรูปแบบต่างๆ หรือจะเลือกแบบที่มีอยู่แล้ว (ถ้ามี) สำหรับการตั้งค่าการพิมพ์ สำหรับการตั้งค่าต่างๆ เอง จำเป็นจะต้องมีความรู้และทำเป็นอยู่บ้าง เพราะหากทำไม่ดีอาจทำให้คุณภาพสินค้าตอนที่พิมพ์ออกมานั้นไม่ดี หรือมีปัญหาได้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าที่ๆ คุณอยู่อากาศหนาว จะต้องมั่นใจว่าตัว Printing Bed ร้อนเพียงพอ เพื่อที่จะให้เส้นใยสามารถติดและเป็นชั้นๆ ได้ดีเพียงพอ ไม่อย่างนั้น ตัวเส้นใยอาจจะแห้งเร็วเกินไป
จากนั้น นั่งรอเครื่องพิมพ์ทำงานไปเรื่อยๆ
Snapmaker - เครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นแนะนำสำหรับมือใหม่
เครื่องรุ่นนี้การันตีความสำเร็จอย่างดีจากการระดมทุนใน Kickstarter เครื่องพิมพ์ 3 มิติ 3-in-1 FFM Snapmaker (หรือที่รู้จักในชื่อ Snapmaker 1.0) เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบจริงจัง หรือพิมพ์แบบ 3 มิติสนุกๆ รุ่นนี้ใช้งานง่าย ราคาไม่แพงจนเกินไปที่รองรับการแกะสลัก CNC (ไม้) และแกะลายด้วยเลเซอร์ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ชิ้นงานมีคุณภาพที่ดีและสม่ำเสมอ
อย่างที่คุณรู้ เราแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เราเคยมีเพื่อนที่พิมพ์โมเดล 3 มิติอยู่แต่เครื่องของเพื่อนนั้นใหญ่มาก และมีสายไฟ สายต่างๆ และชิ้นส่วนเครื่องเต็มไปหมด
เริ่มประกอบเครื่องกันเลย
การประกอบเครื่องรุ่น Snapmaker ง่ายกว่าที่คิดไว้มาก
ในชุดติดตั้งจะมีทั้งตะปู สกรู แหวนสำหรับฐานรองเครื่องพิมพ์ (Bed) และไขควงเพื่อขันน๊อตต่างๆ ทั้งหมด ในชุดยังมีแว่นตากันฝุ่น และเส้นใยพลาสติก PLA หนัก 0.5 กิโลกรัม ซึ่งมีรายละเอียดแนะนำสำหรับอุณหภูมิการให้ความร้อนเครื่องพิมพ์
สิ่งหนึ่งที่ดีมากๆ สำหรับ Snapmaker คือ เครื่องพิมพ์ได้แยกชิ้นส่วนอะไหล่อย่างดีซึ่งสามารถอัพเกรดและเปลี่ยนอะไหล่ หรือซ่อมได้ง่าย ไม่เหมือนเครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นอื่นที่แทบจะไม่มีทางเลือกให้อัพเกรดเลย คุณสามารถเปลี่ยน เพิ่มชิ้นส่วนกับ Snapmaker ได้เหมือนเวลาคุณอัพเกรดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเลย
ดังนั้นคุณสามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ได้ตั้งแต่ดะดับเริ่มแรกจนกระทั่งระดับชำนาญเลย
เราต้องบอกคุณว่า ชิ้นส่วนอะไหล่ของรุ่นนี้ไม่ได้ดูก๊องแก๊งเลย ทุกอย่างถูกแพ็คมาอย่างดีในโฟมใยสังเคราะห์สีดำ ซึ่งทำให้รู้สึกว่ารุ่นนี้ติดตั้งง่ายมากๆ
มีอะไรในกล่องบ้าง
ก่อนที่คุณจะเริ่มพิมพ์
Snapmaker มีซอฟต์แวร์สำหรับพิมพ์เป็นของตัวเอง ใช้ชื่อว่า Snapmakerjs ซึ่งรองรับไฟล์หลายรูปแบบมากๆ สำหรับการพิมพ์ 3 มิติ การแกะสลักด้วยเลเซอร์และแกะสลักแบบ CNC โดยซอฟต์แวร์ใช้งานง่ายมากๆ คุณสามารถตั้งค่าได้ด้วยตัวคุณเอง หรือจะเลือกค่าที่ซอฟต์แวร์ตั้งมาให้แล้วจากโรงงานก็ได้ และแน่นอนว่าหากคุณภาพของสินค้ามากเท่าไร การพิมพ์ก็จะใช้เวลานานขึ้นเท่านั้นนะ
การพิมพ์แบบ 3 มิติ
ในขณะที่ติดตั้ง เราแทบไม่เจอปัญหาใดๆ เลย แต่สุดท้ายเรามารู้ทีหลังว่าตอนที่บรรจุเส้นใยพลาสติก จะต้องทำอย่างระมัดระวัง อย่างเราเองเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ หัวพิมพ์ของเราเกิดหัวตันเพราะเราไม่ได้ใส่เส้นใยอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก
แต่โชคยังดีที่ Snapmaker มีอะไหล่ที่สามารถเปลี่ยนหัวพิมพ์ได้ ปัญหาดังกล่าวก็หมดไป เราเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Snapmaker เพื่อดูวีดีโอสอนการติดตั้งเส้นใยสำหรับหัวพิมพ์
เมื่อเปรียบเทียบงานพิมพ์ 3 มิติกับเพื่อนๆ ของเราแล้ว งานพิมพ์ที่ได้ ดูดีกว่าที่คิดไว้เยอะเลย ที่สำคัญเวลาที่ต้องใช้ในการพิมพ์ที่เครื่องบอกเรานั้น ตรงเวลาเป้ะหรือก่อนเวลาด้วยซ้ำ งานพิมพ์ก็ออกมาได้ตรงกับที่ต้องการ และยังดูแข็งแรงอีกด้วย เราอาจเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องพิมพ์ได้อีกเพราะรุ่นนี้รองรับการอัพเกรดและเปลี่ยนชิ้นส่วน Snapmaker ยังมี ส่วนขยายแกน Z (additional z-axis extensions) จำหน่ายซึ่งทำให้สามารถเพิ่มขนาดการพิมพ์ให้ใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย
การแกะสลักด้วยเลเซอร์
ในการแกะสลักเลเซอร์ คุณต้องใช้โมดูลอีกประเภทซึ่งคนละอย่างกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แต่ไม่จำเป็นต้องประกอบเครื่องใหม่ทั้งหมด เพียงแค่คุณถอดโมดูล 3 มิติออกมา (ซึ่งทำได้ง่ายมากๆ แค่คลายน๊อต 4 หัวเท่านั้น) และใส่โมดูลตัวแกะสลักเลเซอร์เข้าไป และทำตามขั้นตอนง่ายๆ ปรับจูนนิดหน่อยและเลือกไฟล์ได้เลย ทั้งหมดนี้ทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
อย่างที่บอกไปตอนแรกว่าในชุดติดตั้ง มีแว่นป้องกันมาให้ด้วยเพื่อป้องกันสายตาจากแสงเลเซอร์ การตั้งค่าจากโปรแกรม Snapmakerjs นั้นก็ง่ายมากๆ อย่างเราเองก็สามารถปรับค่ากำลังของแสงเลเซอร์ได้อย่างง่ายดายโดยไม่เจอปัญหาใดๆ
งานพิมพ์ที่ได้นั้นแม่นยำและอ่านง่าย ชัดเจนแม้ว่าจะแกะสลักเลเซอร์ลงบนแผ่นกระดานราคาถูกๆ การแกะสลักเลเซอร์นี้สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลาย เช่น จุกไม้ก๊อก หนัง และอะครลิก ลองดู ลิสรายการวัสดุ ที่สามารถพิมพ์ลงบนนั้นได้ และขั้นตอนการใช้งานได้ ที่นี่
เราค้นพบทีหลังว่าบางคนไม่ชอบการพิมพ์แบบแกะสลักเลเซอร์ด้วยกำลังไฟแค่ 200mW ถ้าคุณสนใจการพิมพ์ที่กำลังมากกว่านั้น คุณสามารถซื้อโมดูลเลเซอร์ที่ให้กำลังไฟสูงมากถึง 1600mW ได้ในเว็บไซต์ของ Snapmaker อย่างไรก็ตาม โมดูล 200mW นั้นก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับมือใหม่
การแกะสลักแบบ CNC
เซ็ทค่าไม่ต่างจาก โมดูลแกะสลักเลเซอร์ และการพิมพ์แบบ 3 มิติ เราติดตั้งโมดูล การแกะสลักแบบ CNC โดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วนของเครื่อง จากนั้น แค่อัพโหลดภาพหรือไฟล์ 3 มิติที่คุณต้องการลงบนซอฟต์แวร์ Snapmakerjs อย่าลืมใส่แว่นป้องกันสายตาเพื่อปกป้องตาของคุณจากเศษไม้ด้วยนะ
เรายอมรับว่า ไม่ได้คาดหวังงานแกะสลักที่ดีเลิศอะไรขนาดนั้น เพราะรูปที่เราอัพโหลดไปมีขนาดเล็กไป นอกจากนี้เรายังใช้ไม้คุณภาพธรรมดาที่ซื้อมาจาก Daiso เพื่อมาแกะสลัก แต่เรากลับทึ่งว่า งานพิมพ์นั้นมีขอบ และโค้งที่สวยงามอย่างที่ควรจะเป็นเลย
เราคิดเห็นยังไงบ้าง
Snapmaker เป็นเครื่องพิมพ์รุ่นหนึ่งที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีในการพิมพ์โมเดลต่างๆ ได้ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะมือใหม่อย่างพวกเรา โดยรักษาคุณภาพการพิมพ์ไว้อย่างดี และเครื่องนี้อย่างที่เห็นว่าไม่ได้มีแค่พิมพ์โมเดล 3 มิติ เท่านั้น ยังมีการแกะสลักด้วยเลเซอร์และการแกะสลักแบบ CNC อีกด้วย ถ้าคุณกำลังมองหาเครื่องที่สามารถพิมพ์ Prototype ตัวใหม่และโมเดล 3 มิติ รุ่นนี้เหมาะสำหรับคุณ และเมื่อคุณใช้งานไปสักพัก ก็สามารถเพิ่มชิ้นส่วนและอัพเกรดเครื่องให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
Snapmaker 1.0 วางจำหน่ายแล้วในราคา USD $799 ในเว็บไซต์ทางการ แต่คุณสามารถซื้อได้ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายในบ้านเราได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้
ชมรีวิวเครื่องพิมพ์ได้ที่นี่
Disclaimer: ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: ราคาที่แสดงนั้นเป็นเพียงตัวชี้วัดว่าสินค้านั้นมีค่ามากเท่าไร ราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของร้านค้านั้นๆ หากสินค้าใดไม่แสดงราคาหรือคุณหาสินค้าใดๆ ไม่เจอ Email มาหาเราได้ที่ [email protected] ทันที